การพยาบาลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร ชำนาญศิลป์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด, การพยาบาลทารกที่มีความดันเลือดในปอดสูงในแรกเกิด

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการพยาบาลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด 2) เป็นแนวทางในการให้การพยาบาลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด เก็บข้อมูลจากบัตรบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของผู้ป่วยที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด ที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 6 เดือน ระหว่างเดือน มีนาคม 2566 ถึงเดือนกันยายน 2566

     ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีประเด็นปัญหาที่เหมือนและแตกต่างกันผู้ศึกษาจึงได้นำการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางการพยาบาล มากำหนดเป็นข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยนำแนวคิดกระบวนการพยาบาลกำหนดไว้อย่างครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ตลอดจนนำทักษะ ประสบการณ์ และความชำนาญ ในการดูแลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงมาใช้ พบว่าผู้ป่วยปลอดภัย สามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้

References

ชรินพร พนาอรุณวงศ์.(2561). ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลนครพนม.วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 4(2):5-18

นพวรรณ พงศ์โสภา.(2560). ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสุราษฎ์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 31(1):49-59. 3.

นิศานาถ ชีระพันธุ์.(2563). การพยาบาลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดและได้รับการรักษาด้วยการสูดดมก๊าซไนตริกออกไซด์ : กรณีศึกษา.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 17(3):100-111

พรพิมล โรจนครินทร์.(2564). ผลการรักษาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 60(4):294-305

ฟาริดา อิบราฮิม. ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล;2554

มนัญญา อภิวัฒนพร. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี 2564;29(1):30-7.

โรงพยาบาลกาฬสินธุ์.รายงานสถิติ 5 อันดับโรค ปี 2563-2565. เวชระเบียนแผนกผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกาฬสินธุ์.

แสงแข ชำนาญวนกิจ. (2560). ภาวะติดเชื้อในระยะแรกทารกแรกเกิด. กรุงเทพ: กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมงกุฎเกล้า.

วรนาฎ จันทร์ขจร, อำนวยพร อภิรักษากร.ผลการรักษาภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ.วารสารกุมารเวชศาสตร์2563;59(2):131-8

อัญชลี ลิ้มรังสิกุล. แนวทางการดูแลรักษาภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด. ใน : สันติ ปุณณะหิตานนท์,บรรณาธิการ. Smart Practice in Neonatal Care. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์

Begum NA, Afroze S, Laila R, Siddiqua SP,Rahaman MT. Risk Factors of PersistentPulmonary Hypertension of Newborn (PPHN) in Different Gestation. Am JPediatr 2019;5(3):142-7.

Mathew B, Lakshminrusimha S. PersistentPulmonary Hypertension in the Newborn.Children 2017;63(4):1-14

Tauber KA, Gels GM, Clark DA. Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn(PPHN). Medscape [Internet] 2019 Sep.03.[cited 2019 Sep 28]. Available from: https://emedicine.medscape.com/article/898437-overview.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ชำนาญศิลป์ ป. (2023). การพยาบาลทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 346–354. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268695