การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง
คำสำคัญ:
ความพร้อมของญาติผู้ดูแล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง, ญาติผู้ดูแลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเตรียมความพร้อมของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง พัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง และศึกษาผลลัพธ์ที่เกิดจากรูปแบบการเตรียมความพร้อมของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติผู้ดูแล แบบสอบถามความพร้อมของญาติ 8 ด้าน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต 2) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบประเมินภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ และแบบประเมิน Barthel ADL วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าการประสานทีมสหวิชาชีพไม่ต่อเนื่องไม่มีแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน มีแนวทางการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยแต่ไม่ครอบคลุม ญาติขาดความพร้อมในการดูแล ผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำด้วยภาวะแทรกซ้อน มีการพัฒนา ประเมินสภาพผู้ป่วย และการประเมินความต้องการของญาติผู้ดูแล การเตรียมความพร้อมของญาติในการดูแลผู้ป่วย ทั้ง 8 ด้าน การปฏิบัติการเตรียมความพร้อม การประเมินผลลัพธ์ของการดูแล การเยี่ยมบ้านและการดูแลต่อเนื่อง ผลลัพธ์ด้านญาติ พบว่า ญาติมีความพร้อมในการดูแลระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 83.3 ส่วนระดับคุณภาพชีวิตของญาติอยู่ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 90 ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยพบว่า ก่อนจาหน่ายผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่หลังจากจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน 1 เดือน พบว่าผู้ป่วยเกิดแผลกดทับ ร้อยละ 6.7 ส่วนค่าคะแนน ADL สูงขึ้น ร้อยละ 73.3
References
กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2550). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ข้อมูลสถิติจำนวนและอัตราการป่วย/ตาย ปี 2559 – 2561 โรคไม่ติดต่อ. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยระยะกลางสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). สมุทรสาคร: บริษัทบอร์นทูบีพับลิซซิ่งจำกัด.
คนึงนิจ ศรีษะโคตร และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายแบบบูรณาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล, 37(3), 24-43.
จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ และจันทร์ฉาย มณีวงษ์. (2552). ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนจำหน่าย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(1), 58-70.
นันทกาญจน์ ปักษี และคณะ (2564). การเตรียมความพร้อมญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามแนวคิดรูปแบบการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ, 13(1), 47-61.
นพวรรณ ดวงจันทร์ และคณะ. (2563). ภาวะโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุและแนวทางการสร้างความแข็งแกร่งแก่ญาติผู้ดูแล. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(1), 20-28.
ปิยนุช ศรีสุคนธ์ และคณะ. (2565). การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพระยะกลางของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 41(2), 179-192.
พรภัทร ธรรมสโรช. (2554). โรคหลอดเลือดสมอง. ใน ณัฏฐิณี จรัสเจริญวิทยา และคณะ. (บรรณาธิการ).ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์. (หน้า 31-59). กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร.
ยุวดี ผงสา. (2563). ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 2(2), 139-153.
ศตวรรษ อุดรศาสตร์ และคณะ. (2564). การพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารแพทย์นาวี, 28(2), 458-472.
ศิริมา พนาดร. (2563). ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยระยะกลางและญาติผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะแทรกซ้อนและความพึงพอใจของผู้ป่วย. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(1), 50-62.
ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). มาตรฐานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ. นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.
สถาบันประสาทวิทยา. (2560). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
สุพจน์ ดีไทย. (2561). ผลของการเตรียมความพร้อมก่อนจำหน่ายต่อความยากลำบากในการเผชิญ ปัญหาหลังจำหน่ายของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร, 28(3), 146-156.
สุรีรักษ์ มั่นคง และคณะ. (2565). ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลางผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองใน โรงพยาบาลท่าปลา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 7(1), 97-107.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทุก 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด, โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่.
American Stroke Association. (2020). What is stroke? Retrieved from http://www.strokeassociation.org/STROKEORG/AboutStroke/AboutStroke UCM 308529 SubHomePage.jsp.
Anderson, A., & Hansebo, G. (2009). Elder Peoples Experience of Nursing Care After a Stroke From a Gender Perspective. Journal of Advanced Nursing, 65(10), 2038-2045.
Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Prevalence of stroke: United States, (2010).MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2012;61:379–82.
Howrey, B. T., Kuo, Y. F., & Goodwin, J. S. (2011). Association of Care by Hospitalist on Discharge Destination and 30-day Outcomes After Acute Ischemic Stroke. Med Care, 49(8), 701-707.
Kamel, A. A., Bond, A. E., & Froelicher, E. S. (2012). Depression and Caregiver Burden Experienced by Caregivers of Jordanian Patients with Stroke. International Journal of Nursing Practice, 18, 147-154.
Stewart, BJ., Archbold, PG.(1994).New measures of concepts central to and understanding of caregiving. Unpublished manuscript. School of Nursing, Oregon Health Sciences University.
World Stroke Organization (WSO). About World Stroke Day (Online). (2019) (cited 07 May 2020;Availablefrom: https://ncdalliance.org/news-events/news/world stroke day 2019.