ผลของการใช้หลักสูตร ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ร่วมกับ แผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (Wellness Plan) แบบมีส่วนร่วม ใน ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 9 ด้าน
คำสำคัญ:
หลักสูตรไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย, แผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล, พฤติกรรมสุขภาพ, ความเสี่ยง 9 ด้านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ความเสี่ยง 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ และผลของการใช้ หลักสูตรไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ร่วมกับแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (Wellness Plan) แบบมีส่วนร่วม ต่อภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และความเสี่ยง 9 ด้านในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง 9 ด้าน เป็นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุในการดูแลตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ป้องกันการเจ็บป่วย อยู่ในครอบครัวและชุมชนอย่างมีความสุข และเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ในเขตเทศบาลตำบลโกสุมพิสัย ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ที่มีความเสี่ยงด้านใดด้านหนึ่ง หรือ หลายด้าน ตามนิยามการถดถอย 9 ด้านในผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลจาก แบบคัดกรองและประเมินผู้สูงอายุในชุมชน แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ แบบคัดกรองความเสี่ยง 9 ด้าน ในผู้สูงอายุ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และสถิติ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพ พฤติกรรม และความเสี่ยง 9 ด้านก่อน และหลัง การใช้หลักสูตร
ผลการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบภาวะสุขภาพ ก่อน-หลังการทดลองใช้หลักสูตร น้ำหนัก ไม่แตกต่างกันรอบเอวหลังการใช้หลักสูตรการเรียนรู้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความดันโลหิตในกลุ่มเกินเกณฑ์ลดลงจากร้อยละ 38.3 เป็นร้อยละ 3.33 และไม่พบภาวะแทรกซ้อนของโรค พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีพฤติกรรมสุขภาพครบ 8 ข้อ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.00 เป็น 93.33และหลังการใช้หลักสูตร ไม่พบความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายจาก คำถาม 2 Q ในกลุ่มตัวอย่าง
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.(2561). ระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2561
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2559
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564) สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
กรมกิจการผู้สูงอายุ คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ พ.ศ. 2559
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และ ยศวัชระคุป์. ระบบประกันการดูแลระยะยาว: ระบบที่เหมาะสมกับประเทศ
กฤษดา พรหมสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
ศตวรรษ ศรีพรหม วรรณภา อินต๊ะราชา วรุณสิริ ทางทอง.(2566). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1
ภุชงค์ เสนานุช, และคณะ. ความรอบรู้สุขภาพของชมรมผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ “ไม่ ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” : กรณีศึกษาเขตดอนเมือง.วารสารเกื้อการุณย์ 2561;25(2):119-36 ไทย พ.ศ. 2560ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โครงการวิจัยเพื่อพัฒนา
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2561). คู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับประชาชน “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข