กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในสมองของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะปานกลาง
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีภาวะเลือดออกในสมองบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการเจ็บป่วยของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและเพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีภาวะเลือดออกในสมองของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะปานกลาง : กรณีศึกษา 2 ราย โดยศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีภาวะเลือดออกในสมองของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะปานกลาง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ จากการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ และการวางแผนพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล วางแผนการดูแลครอบคลุมจนถึงการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 74 ปี ไม่มีโรคประจำตัว อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้ม เข้ารับการรักษาวันที่ 13 กันยายน 2566 ด้วยอาการมีเลือดออกหูซ้าย ได้รับการวินิจฉัย Traumatic along bilateral cerebral sulci, right sylvian fissure and tentorial cerebelli. SDH along right cerebral convexity with Fracture Lt 3rd - 6th ribs, Fracture distal Lt. Shoulder ผู้ป่วยได้รับการวัดสัญญาณชีพและประเมินระดับความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน คือ วัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที x 2 ชั่วโมง,ทุก 30 นาที x 6 ชั่วโมง, ทุก 2-4 ชั่วโมง จนครบ 72 ชั่วโมง ไม่พบสัญญาณชีพผิดปกติ โดยผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 5 วันและจำหน่ายกลับบ้าน ใช้สิทธิการรักษาพรบ. มีการนัดติดตามอาการหลังจำหน่าย 2 สัปดาห์ กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 73 ปี ไม่มีประวัติโรคประจำตัว อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้ม เข้ารับการรักษาวันที่ 22 กันยายน 2566 ด้วยอาการมีแผลถลอกตามร่างกาย ได้รับการวินิจฉัย Traumatic SAH with Right zygomatic bone Fracture with Right greater wing sphenoid ผู้ป่วยได้รับการวัดสัญญาณชีพและประเมินระดับความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน คือ วัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที x 2 ชั่วโมง,ทุก 30 นาที x 6 ชั่วโมง, ทุก 2-4 ชั่วโมง จนครบ 72 ชั่วโมง ไม่พบสัญญาณชีพผิดปกติ โดยผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 3 วันและจำหน่ายกลับบ้าน ใช้สิทธิการรักษาพรบ. มีการนัดติดตามอาการหลังจำหน่าย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีแผนการส่งต่อเพื่อการรักษากับแพทย์ศัลยกรรมตกแต่งโรงพยาบาลจังหวัดอีก 2 สัปดาห์
References
นครชัย เผื่อนปฐม และธีระเดช ศรีกิจวิไลกุล. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (Clinicalpractice guidelines for traumatic brain injury). (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : บริษัท พรอสเพอรัสพลัสจำกัด.
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อเสริมสร้างวั https://www.thairsc.com/) ฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน, (2566) สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน.
ทีมพัฒนาคุณภาพการพยาบาลงานศัลยกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ (2566). สถานการณ์ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในสมองของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะปานกลางเข้ารับการรักษาในตึกศัลยกรรม
จินตนา นุ่มสงวน. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในสมองของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะปานกลางและโรคร่วม. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์ และคณะ. (2561). บทบาทของพยาบาลในการพัฒนาความสามารถและลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. ฉบับพิเศษ.
วิจิตรา กุสุมภ์. (2560). ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ:แบบองค์รวม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพ ฯ : สหประชาพาณิชย์.
พงษ์เทพ โกฉัยพัฒน์และลัดดา อินทฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2562; 30(2) : 203-218.
Hickey, J. V. (2009). The clinical practice of neurological&neurosurgical nursing(6th ed). Phiadephia: Wolters Kluwer Health/LIPPINCOTT Williams&Wilkins.
ไสว นรสาร. (2563). การพยาบาลผู้บาดเจ็บ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ๆอเดีย อินสแตนท์ พริ้นทิ่ง.
รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ และคณะ. (2549). การพัฒนาแนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. Journal of Nursing Science. 29 (1) : 18-25.
รุจีพร เพ็ญศรี. (2564). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนโรงพยาบาลศรีงวรสุโขทัย.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 : 83-96
อัญชลี ถิ่นเมืองทอง และคณะ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนในโรงพยาบาลปทุมธานีโดยใช้แนวคิดการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน.วารสารกองการพยาบาล 2559; 43(3), 5-24.
แอนไทย อุดม และนที ลุ่มนอก. (2561). การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับปานกลางถึงรุนแรง. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19 (3), 107-116.
ปทิตตา เสนะคุณ.(2564). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่มีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองร่วมกับเลือดออกในเยื่อหุ้มปอด : กรณีศึกษา วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1. 23-28