ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมน้ำตาลสะสมในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่สูบบุหรี่ จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การควบคุมน้ำตาลสะสม, การสูบบุหรี่, โรคเบาหวานบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบ Case – Control Study เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สูบบุหรี่ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง 120 คน คือ กลุ่มควบคุมน้ำตาลสะสมไม่ได้ 60 คน และกลุ่มควบคุมน้ำตาลสะสมได้60 คน สุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ลักษณะการสูบบุหรี่ ทัศนคติต่อบุหรี่ ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย ทัศนคติต่อบุหรี่ อยู่ระดับปานกลาง (ร้อยละ 64.17) ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่มีอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 48.33) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ระดับไม่ดี (ร้อยละ 50.83) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สูบบุหรี่ จังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 คือ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การมีภาวะไขมันในเลือดสูงร่วม ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ จำนวนบุหรี่ที่สูบ ทัศนคติต่อบุหรี่ ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และความรอบรู้ด้านสุขภาพ
References
วิชัย เอกพลากร. (บก.). (2557) รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสําหรับโรคเบาหวาน 2560 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017). ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย.
Health Data Center. (2565). https://pte.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2560). https://www.hiso.or.th/hiso/contact/contact_2.php
ขวัญเรือน ก๋าวิตูและชนิดา มัททวางกูร. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 82-95.
อารยา หาอุปละ. น้ำเพชร สายบัวทอง. (2561). การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่สูบบุหรี่ ต่อเนื่องและเลิกสูบบุหรี่แล้ว. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 15(2), 69-77.
กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3),256-268.7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
อรพินท์ สีขาว, รัชนี นามจันทรา และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวเฉียว. วารสารพยาบาลทหารบก.2556;14:39-49
Haghighatpanah. M., Mozaffari, N.A.S., Haghighatpanah, M., Thunga, G. & Mallayasamy, S. (2018). Factors that Correlate with Poor Glycemic Control in Type 2 Diabetes Mellitus Patients with Complications. Osong Public Health Res Perspect, 9(4),167-174.mellitus.Journal of Diabetes Research,16(8). doi: 10.1155/2016/2109542
Alzaheb, R.A. & Altemani, A.H. (2018). The prevalence and determinants of poor glycemic control among adults with type 2 diabetes mellitus in Saudi Arabia. Retrieved August 28, 2019, from https://www.dovepress.com/diabetes-metabolicsyndrome-and-obesity-targets-and-therapy-jou
Best, J. W. (1981). Research in education. New jersey: Prentice-Hall.Eales, R. T. J. (2014). A Knowledge Management Approach to User Support. AUIC ‘04
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis.
Bloom,Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา. (2566). คู่มือการดำเนินงานมาตรฐานสุขศึกษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. http://www.hed.go.th/linkHed/index/454.
ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ใน โรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 37(4), 294-305.
วรรณิกา ฟูเฟื่อง. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
Badedi, M. (2016). Factors associated with long-term control of type 2 diabetes
กานต์ชนก สุทธิผล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร ปีที่ 5 ฉบับที่2 มกราคม – มิถุนายน 2565.
มนศภรณ์ สมหมาย. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร การศึกษาแบบจับคู่ย้อนหลัง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุจิรา รัตนพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานของประชาชน ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน ในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11,28, 906.
นันทวรรณ ศรีสุวรรณ. (2550). พฤติกรรมสุขภาพสำหรับทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสมุทรปราการ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤศภณ เทพอินทร์. เสน่ห์ ขุนแก้ว. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 14(1).