การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ช่อรักษ์ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด, ภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ระยะเวลาในการศึกษา 6 เดือน ระหว่างพฤษภาคม 2566 - พฤศจิกายน 2566 กลุ่มตัวอย่าง ภาคีเครือข่าย 32 คน กลุ่มผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดและญาติผู้ดูแล ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด และญาติ กลุ่มละ 32 คน รวม 96 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโดยวิธีเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้าคัดออก เก็บข้อมูลจากสัมภาษณ์ กระบวนการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาณด้วย Paired samples t-test
     ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ด้วยกระบวนการ chronic care model 6 ร่วมกับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายครอบคลุมระดับข้อมูลข่าวสาร ระดับให้ความคิดเห็น ระดับเข้ามามีบทบาท ระดับสร้างความร่วมมือ และระดับเสริมอำนาจ เกิดผลลัพธ์ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดมีอาการทางจิตดีขึ้น หลังการพัฒนารูปแบบดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยคะแนน ลดลงกว่าก่อนการพัฒนา (Mean = 31.28,SD = 2.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 95% CI (11.47 ถึง 14.20) p-value <0.0001 และค่าเฉลี่ยคะแนนการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา (Mean =68.50, SD =3.45) 95% CI (23.84 ถึง 27.53) p-value <0.0001

References

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการติดตามดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชสุรา ยา สารเสพติด โรงพิมพ์ บริษัท พรอสเพอรัส พลัส จำกัด กรุงเทพมหานคร; 2563.

Hurst, Terri. "World drug report." The encyclopedia of women and crime (2019): 1-2.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. พรอสเพอรัส พลัส จำกัด กรุงเทพมหานคร;

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการติดตามดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยจิตเวชสุรา ยา สารเสพติด โรงพิมพ์ บริษัท ดีน่าดู มีเดีย พลัส จำกัด กรุงเทพมหานคร; 2564.

โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. รายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566. มหาสารคาม:โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย, 2566.

Ashu-Ngang and Grace Ntoyang. "Substance use disorder and mental health issues." PhD diss., Brandman University, 2020.

World Health Organization. Management of Substance Abuse: Dual diagnosis. [Internet]. 2018[cited 2023 June 20]. Available from:https://www.who.int/substance_abuse/terminology/dual_diagnosis/en/

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปราม ปี 2564. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เลขที่ 5 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ; 2564.

วชิราภรณ์ สอระสัน. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติดและญาติผู้ดูแล อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2023 May 1;8(1):346-59

วีรพล ชูสันเทียะ, และ สมเดช พินิจสุนทร. ผลกระทบจากการใช้สารเสพติดในผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี: กรณีศึกษา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;5(3), 523-533.

สยาภรณ์ เดชดี, อรวรรณ หนูแก้ว. การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2021 Apr 30;35(1):91-111.

จำปา สิงขะระ. กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพพฤติกรรมก้าวร้าว[อินเตอร์เน็ต].2565. [สืบค้นเมื่อ 22 มิ.ย. 2566]; เข้าถึงจาก:https://www.sdtc.go.th/upload/forum/paper_2493_0746601f1ea0902045c.pdf

กีรติยา อุ่นเจริญ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคร่วมจิตเวชสารเสพติดในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. [สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต] คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560

ณฐพร ผลงาม. การพัฒนารูปแบบการบ าบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง. วารสารศาสตรสาธารณสุขนวตกรรม ปีที่ 1ฉบับที่ 2 พ.ศ.2564 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2564 หน้า 49-7

มยุรี ลัคนาศิโรรัตน์, จารุมน ลัคนาวิวัฒน์, สุวนิตย์ วงศ์ยงค์ศิลป์, ปิยวิทย์ เนกขพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้ป่วยจิตเภทโดยผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายในชุมชนตามกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิตแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2023 Apr 30;8(1):130-42.

หทัยกาญจน์ เสียงเพราะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่กลับมารักษาซ้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการ แพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2021 Aug 28;36(2):413-26.

พิณณรัฐ ศรีหารักษา. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร: กรณีศึกษาตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2023 Mar 31;8(1):436-47.

Chitdee P, Tumjan S, Sararath P, Pilathong A, Tipvaree P, Singthong D. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. Journal of Health Science-วารสาร วิชาการสาธารณสุข. 2020 Jun 30;29(3):489-96.

Yontrakul S, Prakhamthong A, Ritsri N, Chaikhampha P, Junharn S. Model of Empowerment Integration with AIC Technique for Taking Care of Chronic Psychology Patients. A Case Study: Kok-Kor Sub-district, Muang District, Mahasarakham Province-รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับเทคนิคเอไอซีในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเรื้อรังในชุมชนกรณีศึกษา: ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Health Science-วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2014:412-20.

เกศราพร แก้วลาย, ศุภัคฌา เทเวลา, ศิวพร สุทธิเภท. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2023 Sep 30;8(3):187-97.

นิภาวรรณ ตติยนันทพร. การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการป้องกันและบำบัดยาเสพติด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศูนย์ อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2022 Jun 29;16(2):581-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ช่อรักษ์ ก. (2023). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 503–513. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269261