การพัฒนารูปแบบการพยาบาลโดยการสร้างเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, การสร้างเสริมการจัดการตนเอง, ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลโดยการสร้างเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ดำเนินการศึกษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้บริการ และกลุ่มผู้ให้บริการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มผู้ให้บริการ ได้แก่ แบบประเมินความรู้ ทักษะการปฏิบัติ และความคิดเห็นต่อรูปแบบการพยาบาล กลุ่มผู้ใช้บริการ ได้แก่แบบประเมินความรู้ การปฏิบัติตน การสนับสนุนทางสังคม และความพึงพอใจต่อรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ความถี่ ร้อยละและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพยาบาล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระบบสนับสนุนการจัดบริการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการตนเอง 2) กระบวนการสร้างเสริมการจัดการตนเอง และ 3) การประเมินผลลัพธ์ โดยหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลพบว่า คะแนนความรู้และการปฏิบัติตนในการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) ภายหลังจำหน่าย 1 เดือน ลดลงทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังจำหน่าย 3 เดือน และระดับ HbA1C กลุ่มทดลองลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .000* และ .004 อัตราการกลับมานอนซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันในกลุ่มทดลอง ร้อยละ 3.33 กลุ่มควบคุม ร้อยละ 20 ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมาก (4.79,SD .335 และ 4.77 SD .330) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติตนของกลุ่มทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p .007 คะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p .000 และความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบอยู่ในระดับ อยู่ในระดับมาก 4.12 (SD .3823)
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564).รณรงค์เบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวานให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง.(อินเตอร์เนต). นนทบุรี. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2566). เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news= 21692&deptcode=brc
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). เผยสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องในวันเบาหวานโลก ปี 2565.(อินเตอร์เนต). นนทบุรี. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2566). เข้าถึงได้จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). หลักสูตรการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยและผู้ดูแล. กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเอง ของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลระยะยาวและผู้ดูแล. พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรุงเทพมหานคร. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์.
คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. (2553). แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ.2553.กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลสระบุรี.(2566). สถิติผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลสระบุรี ในปี 2563-2565. สระบุรี.
กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา และ ณัฐกมล ชาญสาธิตพร (2563). โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2563
วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี. (2560). โรคเบาหวานชนิดที่ 2: ระบาดวิทยา การป้องกันและการสนับสนุนการจัดการตนเอง. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
สมจิตต์ สินธุชัย , นุสรา นามเดช, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล,จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, กันยารัตน์ อุบลวรรณ และ ปัฐยาวัชร ปรากฏผล. (2564). การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรม การจัดการตนเองและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง จังหวัดสระบุรี
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2559) .รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง Chronic Care Model : CCM.นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิพม์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมชูปถัมภ์.
Glasgow, R. E., Davis, C. L., Funnell, M. M., & Beck, A. (2003). Implementing practical interventions to support chronic iIlness self-management. Joint Commission Journal on Quality and Safety, 29(11), 563-574.
สาวิตรี นามพระธาย. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้.นครปฐม : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สมลักษณ์ จึงสมาน. (2560). การดูแลป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังทางหลอดเลือดจากโรคเบาหวาน. ใน สมลักษณ์ จึงสมาน (บ.ก.), โรคเบาหวานชนิดที่ 2/เมทาบอลิสม (น. 139-169). สาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Kanfer, F. H., and Gaelick, L. (1986). Self-management methods. In F. Kanferand A. Goldstein (Eds.), Helping People Change: A Textbook of Methods (3rd) (pp. 283-345). New York: Pergamon Press.
Hurley, L., O’Donnell, M., O’Hara, M. C., Carey, M. E., Willaing, I., Daly, H., & Dinneen, H. F. (2017). Is diabetes self-management education still the Cinderella of diabetes care?. Patient Education and Counseling, 100, 957–1960.
American Diabetes Association. (2019). Standards of medical care in diabetes— 2019. Diabetes Care, 42,(Suppl.1).
Soliman, H. M. M., & Mohamed, W. G. (2016). Educational intervention and tele-nursing effects on glycemic control, metabolic parameters and adherence in adults with type II Diabetes Mellitus. International Journal of Nursing Didactics, 6(2) http://dx.doi.org/10.15520/ijnd.2016.vol6.iss2.130.01-11
จารุมน ลัคนาวิวัฒน์ มยุรี ลัคนาศิโรรัตน์ ปิยวิทย์ เนกขพัฒน์ ธีระยุทธ์ แซ่ฮ่อการพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่สถานบริการปฐมภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 8(1). 58-66
Creer, L. T. (2000). Self-management of chronic illness. In Boekaerts, M., Printrich, P. R., & Zeidner, M. (Eds.). Handbookofself-regulation.pp. 601-629. San Diego, CA: Academic Press.
Creer, T. L., & Holroyd, K. A. (1997). Selfmanagement. In Baum, A., McManus, C.,Newman, S., Weinman, J., & West, R. (Eds.). Cambridgehandbookofpsychology,health, andbehavior. pp. 255-258. Cambridge:Cambridge University Press.