ผลการใช้การประชุมครอบครัวผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ปฏิเสธการบำบัดทดแทนไต ต่อการยอมรับตนเอง โรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ลุนนากัน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเกษตรวิสัยจังหวัดร้อยเอ็ด Corresponding author

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, การประชุมครอบครัว, การยอมรับตนเอง, โรคไตวายระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง(One Group Pretest- Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการประชุมครอบครัวผู้ป่วยไตวายระยะท้ายที่ปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตต่อการยอมรับตนเองก่อนและหลังการประชุมครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นครอบครัวผู้ป่วยไตวายระยะท้ายที่ปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตจำนวน 30 ครอบครัว ในระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 –มีนาคม 2563 โดยใช้การประชุมครอบครัวในการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ1)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  และ 2)แบบประเมินการยอมรับตนเอง นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

     ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยการยอมรับตนเองของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายหลังการประชุมครอบครัวสูงกว่าก่อนการประชุมครอบครัว (p <0.05)

References

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิด ประคับประคอง พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ:,เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด. 2560.

อำนวยพร แดงสีบัว, อัฉราวรรณ โตภาคงาม, สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์, จุฬาภรณ์ลิมวัฒนานนท์. การติดตามผู้ป่วยโรคไตวายระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบ ไม่ฟอกไต. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2558;9(2)181-92.

ทวี ศิริวงศ์. Renal Palliative Care in Practice. ศรีนครินทร์เวชสาร. [อินเตอร์เน็ต].2559[เข้าถึงเมื่อ20 มีนาคม 2559]; เข้าถึงได้จาก:https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/ Article/view/68117

อากาศ พัฒนเรืองไล, อำไพพร ยังวัฒนา, นฤมล เรืองกิจวัฒนากร, อภิสิทธ์ ศรีอิ่นแก้ว, วิชยาภา เอี่ยมสว่าง. List disease of Palliative care and Functional unit. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด. 2559.

กิติพล นาควโรจน์. แนวทางการพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย. [อินเตอร์เน็ต].2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 มิถุนายน 2562].เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/km/site/ default/files/u11/00021.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข.ฐานข้อมูล Health Data Center : HDC [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.hdcservice.moph.go.th.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล, ปาริชาติ เพียสุพรรณ์. มาตรฐานคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง Quality Standards for Palliative Care.พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น. ศูนย์การุณรักษ์. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561.

Rogers, C. R. and Dymond, R. Psychotherapy and Personality Change. Chicago: University of Chicago Press, 1954.

พระบุญเติม วัฒนพรหม. การศึกษาและการพัฒนาโปรแกรมการยอมรับตนเองของผู้ต้องขังตามหลักอิทธิบาท4.[วิทยานิพนธ์].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2558.

อภิรดี อภิวัฒปนากร, ชิดชนก เรือนก้อน. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิเสธการฟอกไตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2561;10(2):29-43.

ประนอม โฉมกาย. ประสิทธิภาพของการประชุมครอบครัวของผู้ป่วยระยะท้าย โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี;2559. 41(1):17-26.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเลขา. การวางแผนการดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าเพื่อการตายดี. วารสารวิทยาลัยพยาบาล. กรุงเทพฯ; 2560:33(3):138-45.

แสวง บุญเฉลิมวิลาศ. กฎหมายและจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยประคับ ประคอง. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง รุ่นที่ 4. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2561.

ธีรพันธ์ กากแก้ว. แนวทางการประชุมครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. วารสารกรมการแพทย์. 2561; 41(2):66-75.

Prabhu RA, Salins N, Bharathi, Abraham G.End of Life Care in End-Stage Kidney Disease. Indian J Palliative Care.[Internet]. 2021. [Cited 2022 November. 6]; 27(2):37-42.ailable from:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8191743

ชลกร ศิรวรรธนะ, ทิพวัลย์ สุรินยา. การยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การมีส่วนร่วมในชุมชนกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์สาสตร์. กรุงเทพฯ; 2556:39(2). 80-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ลุนนากัน อ. (2023). ผลการใช้การประชุมครอบครัวผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ปฏิเสธการบำบัดทดแทนไต ต่อการยอมรับตนเอง โรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 514–521. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269336