การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ชัยวุฒิ สุขสมานวงศ์ โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง, ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 211 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแลกเปลี่ยนวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ประเด็น ตามลำดับชั้นของข้อมูล

     ผลการวิจัย พบว่า หลังเสร็จสิ้นการดำเนินกิจกรรมตามโครงการทั้งหมดผู้ป่วยยาเสพติดมีความต้องการเสพยาเสพติดลดลง หรือในรายที่มีอาการไม่รุนแรงไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดซ้ำเพิ่มขึ้น มีทักษะในการปฏิเสธมากขึ้น และมีความเสี่ยงในการก่อความรุนแรงลดลง ผู้ดูแลมีความรู้ ทัศนคติต่อผู้ป่วยที่ดีขึ้น รวมถึงมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เครือข่ายทีมสุขภาพจิตมีความรู้เพิ่มขึ้น และในท้ายที่สุดในพื้นที่เกิดแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

References

Australian Health Ministers. National Mental Health Plan 2003–2008. Canberra: Australian Government; 2003. Available from: https://webarchive.nla.gov.au/awa/20080730234045/http://www.health.gov.au/internet/main/publishing.nsf/Content/EE630ADE7F40F80FCA2572220002D081/$File/plan03.

World Health Organization. Meatal health atlas 2011. Geneva, Switzerland: WHO Press; 2011. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9799241564359.

World Health Organization. The World Health Report 2001: Mental Disorders affect one in four people 2001 [updated 28 September 2001. Available from: https://www.who.int/news-room/detail/28-09-2001-the-world-health-report-2001-mental-disorders-affect-one-in-four-people.

Treatment Advocacy Center. Risk Factors for Violence in Serious Mental Illness 2016 [updated June 2016. Available from: https://www.treatmentadvocacycenter.org/storage/documents/backgrounders/smi-and-risks-for-violence.pdf.

พรทิพย์ ชิรดิลก, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ธีระ ศิริสมุด, อัญชุลี เนื่องอุตม์. ระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินจิตคลุ้มคลั่งแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในประเทศไทย: การนำไปใช้และการติดตามประเมินผล. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2564.

โรงพยาบาลจะนะ. รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินของอำเภอจะนะ. 2566.

รัศมี ชุดพิมาย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้องรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3):851-67.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2563.

พิทักษ์พล บุณยมาลิก, สุพัฒนา สุขสว่าง, ศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน. การพัฒนาแบบประเมินทักษะการดำรงชีวิตเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวช. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา. 2555;13:1-15.

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. แนวทางการติดตามดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชสุรา/ยา/สารเสพติด (ฉบับทดลองใช้). กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส; 2563. Available from: https://mhso.dmh.go.th/fileupload/202104191676268002.pdf.

เปรมฤดี ดำรักษ์, อังคณา วังทอง, อนุชิต วังทอง. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังซับซ้อน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารสมาคมนักวิจัย. 2557;19(2):92-103.

พิชามญชุ์ ปุณโณทก. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ ความพร้อมและความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายในชุมชนเขตจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30