การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชาย
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เชื้อเอชไอวี, กลุ่มชายรักชายบทคัดย่อ
การเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายรักชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นชายรักชาย เป็นกลุ่มชายรักชายที่สมัครใจขึ้นทะเบียนในโรงพยาบาลนาทม ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 - 2565 ได้รับการคัดเลือกแบบสุ่มโดยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน (Sample sampling) จำนวน 50 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, การปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV), ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์, ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และการประเมินความเสี่ยงของตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติ Pair t-test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างชายรักชาย หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (= 31.66, SD=3.640, =
37.46, SD=2.215) แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05, ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (
= 5.08, SD=1.839,
= 8.32, SD=.978) แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และการประเมินความเสี่ยงของตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (
= 17.54, SD=2.332,
= 19.58, SD=2.516) แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
References
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. (2564). ฐานข้อมูลศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศด้านเอชไอวีของประเทศไทย (HIV Info Hub) [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564];แหล่งข้อมูล:URL: https://hivhub.ddc.moph.go.th/
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2564/2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือสร้างเสริมความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (HIV & STIs Literacy). พิมพ์ครั้ง 1. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
จุฑามาศ มากกุญชรและคณะ. (2564). การพัฒนากระบวนการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวี.วารสารโรคเอดส์, 34(1), 1-19.
กรีฑา ต่อสุวรรณ, อัมไพวรรณ บุญแก้ววรรณ. (2564). ผลของโปรแกรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ต่อความรู้ทัศนคติ พฤติกรรมความตั้งใจและการรับรู้ประสิทธิภาพของพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ ในวัยรุ่นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(2), 77-93.
สาวิตรี อ่อนจันทร์, ยุวดี ลีลัคนาวีระและพรนภา หอมสินธุ์ (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันเอดส์ของเยาวชนหญิงในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 40 (1) 45-57
สุขสถาพร จันทมาศ, ราณี วงศ์คงเดช และนิรันดร์ อินทรัตน์. (2561). การเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิควิชาชีพแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 7(2), 174-184.