รูปแบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ศรีน้อยขาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน กันยายน 2566 ถึงเดือน พฤศจิกายน 2566 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test

     ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( p – value เท่ากับ .000 ทุกค่า โดยที่หลังการดำเนินงานมีศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่าก่อนดำเนินการ

References

ชุติมา ถนอมสิทธิ์ และ นฤนาท มาลารัมย์. (2560). ผลกระทบของไกลโฟเสทที่มีต่อสัตว์น้ำ. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 39(1), 98-109.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (2565). การศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมีอันตรายที่ใช้ในภาคเกษตร (ไกลโฟเสต) และค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาฟื้นฟูสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร. รายงานวิจัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วันปิติ ธรรมศรี. (2564). ผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทาง การเกษตรของ เกษตรกรไทย. 39(4), 329-336.

มณีรัตน์ สวนม่วง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, มลินี สมภพเจริญ และดุสิต สุจิรารัตน์. (2562). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของคนงานรับจ้างฉีดพ่น. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 1-11.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาว (2563) สถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.(2559). คูมืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) กลุ่มดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื่องรัง (NCDs) พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2560, พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธัญญาภรณ์ ไทยอู่, สรัญญา ถี่ป้อม,สุดาวดี ยะสะกะ และวิโรจน์ จันทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของคนงานรับจ้างฉีดพ่นสารเคมี ตำบลดงประคำ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารควบคุมโรค ปีที่ 43 ฉบับที่ 3: กรกฎาคม – กันยายน. 2560; 293-235.

สมจิต บุญพา และพรพรรณ สกุลคู. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพริก บ้านดอนแดงใหญ่ ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 11 ฉบับที่ 1:มกราคม – มีนาคม. 2561; 38–46.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (2563) คู่มือสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน นนทบุรี : กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข

เนตรชนก เจริญสุข. (2557). การศึกษาเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีในชาวนาใน อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(1), 91-101.

ภัทรภร ฤทธิชัย.(2562). ผลการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าโพด ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธ์. หลกัสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ศรีน้อยขาว ศ. (2023). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 483–490. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269456