การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะตับอักเสบจากยาวัณโรค: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อินถวา เวียงวงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, วัณโรค, ตับอักเสบจากยาวัณโรค, แบบแผนสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยวัณโรคปอดมีภาวะตับอักเสบจากยา เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะตับอักเสบจากยาวัณโรค โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย  การรักษา  เวชระเบียน  สัมภาษณ์  และประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้แนวคิดแบบประเมินตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาล ตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์

     ผลการศึกษา: กรณีศึกษารายที่ 1  ชายไทยอายุ 48 ปี   มาด้วยอาเจียน สีดำ รับยาต่อเนื่อง ผิดนัดรับยา 7 เดือน กลับมาเริ่มต้นใหม่ กินยาต่อเนื่องตามนัดทุกครั้ง ล่าสุดมีอาการอาเจียน น้ำหนักลด 10 กิโลกรัม แพทย์ให้การวินิจฉัยโรคว่าเป็น Rifampicin induced hepatitis ติดตามอาการเป็นระยะตามนัดทุกครั้ง ตาเริ่มมัว มีตาตัวเหลืองจึงต้องมาปรึกษาเปลี่ยนยา  กรณีศึกษารายที่ 2 ผลตรวจ AFB Positive 2+ รับยาที่โรงพยาบาลขอนแก่น คนไข้ขาดยา 1 เดือน เนื่องจากกินยาแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เริ่มต้นรับยาใหม่ ลาสุดคนไข้มีอาการ เวียนศรีษะ บ้านหมุน พบว่าเป็น induced hepatitis จากยาRifampicin

References

วสันต์ กาติ๊บ. (2558). อาการไม่พึงประสงค์จากยาวัณโรคและการจัดการ. ใน วสันต์ กาติ๊บ (Ed.),Principle of infection diseases เชียงใหม่: โรงพิมพ์ยูเนียนออฟเวท.

กรมควบคุมโรค กองวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงาน กิจกรรมการรณรงค์วันวัณโรคสากล ประจำปี 2566 https://www.tbthailand.org/statustb.html

วรางคณา กีรติชนานนท์, สุริยา กีรติชนานนท์. วิธีป้องกันและรักษาผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษต่อตับจากการใช้ยาต้านวัณโรค.ธรรมศาสตร์เวชสาร.2558: 646 -57.

ประเทือง ธราธรรุ่งเรือง. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดในงานบริการผู้ป่วยนอก: กรณีศึกษา.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.2561:77 -95.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคพิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

วิลาวัณย์ ทองเรือง (2555). ภาวะพิษต่อตับจากยาต้านวัณโรค: อุบัติการณ์ กลไก และการจัดการวารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 7(4), 107-204.

วิศาล สุทธิพัฒนางกูร. (2544). การเกิดพิษต่อตับจากยาต้านวัณโรคในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล. (2559). แนวทางปฎิบัติในการทำงานติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา. กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. (2559). สถานการณ์และการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค. ในแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์.

สุพพัตธิดา แสงทอง, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, และสุพัตรา บัวที. (2555). อาการและการรับรู้อาการไม่พึงประสงค์จากยารักษาวัณโรคของผู้ป่วยวัณโรคปอด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(0), 420-421.

สุพพัตธิดา แสงทอง, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, และ สุพัตรา บัวที. (2556). ผลของการจัดการอาการร่วมกับการให้แรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอด วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 105-114.

สุรเชษฐ์ อรุโณ ทอง, ชูพงศ แสงสว่าง, ป ณิธี ธัมมวิจยะ, ศรีทรงชัย รัตนเจียมรังษี, และสุดใจ หอธรรมกุล. (2558). ปัจจัยด้านประชากรและคลินิกที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนยารักษาวัณโรคที่มีสาเหตุจากการ แพ้ยาในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ของเขตภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานตอนบน ของประเทศไทย: การศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากระบบรายงานวัณโรคปกติระดับเขต. เชียงใหม่เวชสาร, 54(3), 109-119.

อนงค์ ทองสามัญ. (2558). ประสบการณ์อาการ กลวิธีการจัดการอาการ และผลลัพธ์การจัดการอาการไม่พึงประสงค์ของยาวัณโรค (พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

Abera, W., Cheneke, W., & Abebe, G. (2016). Incidence of antituberculosis-drug-induced hepatotoxicity and associated risk factors among tuberculosis patients in Dawro Zone, South Ethiopia: A cohort study. Journal of mycobacteriology, 5(1), 14-20. doi:10.1016/j.ijmyco.2015.10.002

Aithal, G. P., Watkins, P. B., Andrade, R. J., Larrey, D., Molokhia, M., Takikawa, H.Daly, A. K. (2011). Case definition and phenotype standardization in druginduced liver injury. Clinical pharmacology and therapeutics, 89(6), 806-815. doi:10.1038/clpt.2011.58

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

เวียงวงษ์ อ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะตับอักเสบจากยาวัณโรค: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 522–527. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269458