การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในการป้องกันและบรรเทาภาวะรั่วซึมออกนอกหลอดเลือด จากยาเคมีบำบัด
คำสำคัญ:
การป้องกันภาวะรั่วซึมออกนอกหลอดเลือด, ยาเคมีบำบัด, รูปแบบการดูแลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในการป้องกันและบรรเทาภาวะรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดจากยาเคมีบำบัด โดยนำแนวคิดการพัฒนารูปแบบการดูแลของพยาบาลโดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการจัดการตนเอง (Self-management) มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มยา Vesicant ทุกราย ที่เข้ารับการรักษา ในศูนย์รังสีรักษาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือน มิถุนายน-พฤศจิกายน 2566 จำนวน 62 ราย เลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบประเมินระดับความรุนแรงภาวะ Extravasation จากยาเคมีบำบัด
ผลการศึกษา: พบว่า รูปแบบการดูแลเดิม พยาบาลยังพร่องการประเมินและสังเกตความผิดปกติของตำแหน่งให้ยา การส่งเสริมผู้ป่วยดูแลตนเองในการเตรียมความพร้อมของหลอดเลือด และการแนะนำผู้ป่วยให้เฝ้าระวังสังเกตความผิดปกติของตำแหน่งให้ยา ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในการป้องกันและบรรเทาภาวะรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดจากยาเคมีบำบัด สำหรับพยาบาล มี 3 ด้าน คือ 1) Extravasation prevention 2) Extravasation assessment และ 3) Extravasation management และได้แนวทางการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเมื่อรับยาเคมีบำบัด มี 3 ระยะ คือ ก่อน ขณะ และหลังรับยาเคมีบำบัด
References
กาญจนา ใจดี. (2557), ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับการป้องกนัการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคมะเร็ง หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลลำปาง, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564), รูปแบบการพยาบาลในการสร้างเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบระยะยาวและผู้ดูแล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์, กรุงเทพมหานคร.
ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2559), Thai Journal of Nursing Council, ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการกับภาวะ extravasation, (Vol. 31 No.2 April-June 2016), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์ และยุวนุช สัตยสมบูรณ. (2563), วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสารธารณสุขภาคใต้, รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. (Vol.7 No. 2 May – August 2020)
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2557), แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งลําไส้ใหญ่และไส้ตรง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สมาคมพยาบาลโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย (Thai oncology nurse society). (2564), ความปลอดภัยการให้ยาเคมีบำบัด: ข้อเสนอแนะและแนวทางปฏิบัติ, บริษัท ซิกมา กราฟฟิคส์ จำกัด: นนทบุรี.
สุรีพร มะณีรัตน์. (2561), ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิด EXTRAVASATION ต่ออัตราการเกิด EXTRAVASATION ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุชาดา พุฒิเพ็ญ, อําภาพร นามวงศ์พรหม และ นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์. (2561), เอกสารการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ ๑๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๑, ความสามารถในการดูแลตนเอง และการรับรู้ความรุนแรงของอาการข้างเคียงของเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
หน่วยมะเร็งวิทยา. (2553), การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง: เอกสารประกอบการอบรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนุชา ไทยวงษ์, วิรัตน์ดา สาระโภค, วัชราภรณ์ ศรีโสภา และ นงลักษณ์ สมภักดี. (2561), วารสารทันตาภิบาล, การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลในการสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันและจัดการภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด, (ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561)
Avdal, E.U., & Aydinoglu, N. (2017). Extravasation of vesicant / non- vesicant drugs and evidence – based management. International journal of caring sciences, 5(2), 191-202.
Benna, S.A., Boyle, C.O., & Holley, J. (2013). Extravasation injuries in adults. ISRN Dermatology, 1, 1-8.
Creer, L.T. (2000). Self-management of chronic illness: Handbook of self-regulation. California: Academic.
Doellman D, Hadaway L, Bowe-Geddes LA, et al. Infiltration and extravasation: update on prevention and management. J InfusNurs 2009; 32(4):203-11.
Hadaway LC. Preventing and managing peripheral extravasation. Nursing 2009; 39(10):26-7.INS. Infusion Nursing strandard of practice. J Infus Nurs 2022; s65-72.
Kanfer, F. H., and Gaelick, L. (1986). Self-management methods. In F. Kanfer and A. Goldstein (Eds.), Helping People Change: A Textbook of Methods (3rd) (pp. 283-345). New York: Pergamon Press.
Kemmis, S., and McTaggart, R., The action research planner, (Geelong: Deakin University Press, 1990), p. 5.
McKernan, J., Curriculum action research: A handbook of methods and resources for the reflective practitioner, (London: Kogan Page, 1991), p. 16-17.
RCN. Standard for Infusion therapy. London: RCN;2020.
akaida, E., Sekine, I., Iwasawa, S., Kurimoto, R., Uehara, T., Ooka, Y., . . . Takiguchi, Y. (2014). Incidence, risk factors and treatment outcomes of extravasation of cytotoxic agents in an outpatient chemotherapy clinic. Japanese Journal of Clinical Oncology, 44, 168-171.
Wengstrom, Y., Foubert, J., Margulies, A., Roe, H., &Bugeia, S. (2017). Extravasation guidelines 2007. European Oncology Nursing Society clinical practice guidelines, 1, 1-42. Retrieved from
Wilkinson R. Nurses’ concerns about IV therapy and devices. Nurs Standard 1996; 10 (35):35-7.