การพยาบาลผู้ป่วยทีมีผลการคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติได้รับการส่องกล้องคอลโปสโคปเพื่อตรวจปากมดลูกและตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิวิทยา: กรณีศึกษา 2
คำสำคัญ:
การคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ, ส่องกล้องคอลโปสโคป, ชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิวิทยาบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยทีมีผลการคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติที่ได้รับการส่องกล้องคอลโปสโคปเพื่อตรวจปากมดลูกและตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิวิทยาให้มีความปลอดภัยเป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วย 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย มีการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ผลการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยผลการคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติที่ได้รับการส่องกล้องคอลโปสโคปเพื่อตรวจปากมดลูกและตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิวิทยา เป็นวัยเจริญพันธ์และผู้สูงอายุ กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 34 ปี กรณีศึกษารายที่2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 58 ปี ผู้ป่วยทั้ง2 รายคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ รายที่ 1 HPV subtypes ที่ 16 และ33 รายที่ 2 HPV subtypes ที่ 16 ส่งต่อมาเพื่อดูแลวินิจฉัยต่อ โรงพยาบาลขอนแก่นนัดส่องกล้องคอลโปสโคปเพื่อตรวจปากมดลูกและตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจพยาธิวิทยา ที่ห้องตรวจนรีเวช โรงพยาบาลขอนแก่น จุดเด่นของการพยาบาลผู้ป่วยทั้ง 2 รายคือ ใช้หลักการพยาบาลโดยการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ป่วยและครอบครัวและเน้นให้มีการจัดการตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อให้การรักษาอย่างต่อเนื่อง เตรียมพร้อมส่องกล้อง และทราบอาการและภาวะแทรกซ้อนจากการส่องกล้อง มีการเตรียมร่างกายเพื่อการทำหัตถการได้อย่างเหมาะสม
References
จตุพล ศรีสมบูรณ์. ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก..[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก www.rtcog.or.th . [มี.ค.2023])
ทะเบียนผู้ป่วยหอผู้ป่วยรังสีรักษาและเคมีบำบัด ชั้น 2 โรงพยาบาลขอนแก่น. (2559).
ปราณี ทูไพเราะ. (2550). คู่มือยา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่ N P Press Limited Partnership.
ฉลาด แสงอาทิตย์. (2546) ความเข้มแข็งอดทนและคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.
ยุพิน เพียรมงคล. (2547). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก. เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น: (เข้าถึงเมื่อ12 สิงหาคม 2566)
วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ. (2554). HPV-Related Diseases and HPV Vaccines: พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ รักลูกกรุ๊ป.
วีราภรณ์ วงศ์สวัสดิ์, นภพร มีนากุล, ธัชชัย ปัญญา. (2566) การพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีและเคมีบำบัดในโรงพยาบาลชลบุรี.วารสารการพยาบาลและสุขศาสตร์, 42(1), 45-58
นภชาญ เอื้อประเสริฐ. Chulalongkorn hematology handbook. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ; 2555. 82 – 87.
สมศักดิ์เทียมเก่า. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองส าหรับทีมสุขภาพ เขตบริการสุขภาพที่ 7 . พิมพ์ครั้งที่ 1 :ขอนแก่น :หจก คลังนานาวิทยา. หน้า 3-16
สุชาวดี รุ่งแจ้ง, และรัชนี นามจันทรา. (2559). การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 43-57.
สุริยา ชานวนิตย์, วิรัชน์ กิจเพ็ชร, นันทวัล จันทนะ (2565) การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยรังสีและเคมีบำบัด: ผลการรักษาและปัจจัยที่มีผล. วารสารกายภาพบำบัดและสุขศึกษา, 28(2), 97-108
Lamb, M.A. (2000). Invasive cancer of the cervix. In G.J. Moor- Higgs, L.A. Almadsones, L.M. Gossfeld, J.H. Erikson & amp; B.C. Huff (Eds.), Siciety of gynecologic nurse oncologists? Womenand cancer: A gynecologic oncology nursing perspective ( 2 ed.)(pp. 82-96). Boston: Jones and Barllett.
Srinagarind Hospital, KhonKaen University. (2014). Hospital-Based Tumor Registry Statistical Report. Cancer Unit, Faculty of Medicine. KhonKaen University.