การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนจอประสาทตาเสื่อม: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • แก่นใจ ยุทธเกษมสันต์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะแทรกซ้อนจอประสาทตาเสื่อม, เบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนจอประสาทตาเสื่อม จำนวน 2 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก แบบประเมินปัญหาและความต้องการการพยาบาลโดยใช้กรอบแนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน  และการพยาบาลนำกรอบแนวคิดการจัดการตนเองด้วยการสร้างทักษะการคิดแก้ปัญหาและวางแผนจัดการตนเองให้เหมาะสม

     ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษารายที่1เป็นชายไทย คู่ อายุ 56 ปี โรคประจำตัวหลักคือเป็นโรคเบาหวาน เคยมีภาวะความดันร่วมแต่ไม่ได้กินยารักษาและรับยาเบาหวานที่ โรงพยาบาลขอนแก่นมา 20 ปี มาด้วยอาการปวดตาเวลาจ้อง ตามัวข้างขวา กรณีศึกษารายที่ 2 เป็นชายไทย สถานภาพสมรสคู่ อายุ 54 ปี โรคประจำตัวหลักคือ เป็นโรคเบาหวาน เคยมีประวัติภาวะความดันร่วมและ Acute Stroke แขนขาอ่อนแรงข้างซ้าย รับยาเบาหวานที่ โรงพยาบาลขอนแก่นมา 10 ปี มาด้วยอาการปวดตามัวทั้ง 2 ข้าง

References

การประเมินความคุ้มค่าของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่ฉีดอินซูลินในบริบทประเทศไทย 2557. HITAP

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2546). รูปแบบการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

กรมควบคุมโรค. (2546). คู่มือการดูแลตนเองเบื้องต้นเรื่องอาหาระรู้ทัน เบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิชาการ. (2541). การศึกษาทางเลือก: วิวัฒน์หรือวิบัติในยุคโดกไร้พรมแดน กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัญญา บุตรศรนรินทร์. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาต่อเนื่องโรงพยาบาลบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ ส.ม.. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

กาญจนา ประสารปราน. (2525). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับการควบคุมโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ วท.ม.มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการโภชนาการชมรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน, โภชนบำบัดโรคเบาหวานใน: โครงการให้ความรู้โรคเบาหวาน 21-24 กุมภาพันธ์ 2543 ขมรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน.

จุฑารัตน์ ลมอ่อน. (2548). ผลการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานซนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ส.ม.. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ชูศรี เมฆหมอก, จันทร์ฉาย ตระกูลดี และสายฝน ม่วงคุ้ม. (2543). ผลการพยาบาลแบบตั้งเป้าหมายร่วมกันต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลบ้านโป้งจังหวัดราชบุรี.วารสารสภาการพยาบาล, 15(3), 78-87.

เทพ หิมะทองคำ. (2547). บทนำในรัชตะรัชตะนาวินและธิดานิงสานนท์. (บรรณาธิการ), ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์, (พิมพ์ครั้งที่ 3) ปรับปรุงใหม่, หน้า 19-22) กรุงเทพฯ:

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. แผนภูมิขั้นตอนการรักษาเบาหวานชนิดที่ 1, การคัดกรอง การวินิจฉัยการรักษาเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น, องค์ประกอบการรักษาเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นในแนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. อรุณการพิมพ์ กทม. หน้า 43, 89-102, 161-4. 12.

สาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. เอกสารประกอบการดำเนินงาน. Siriraj Pediatric Diabetes Care Team ปรังปรุง 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ยุทธเกษมสันต์ แ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนจอประสาทตาเสื่อม: กรณีศึกษา. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 569–573. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269471