การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นฤมล ทองแผ่น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคมะเร็งลำไส้, ยาเคมีบำบัด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด: กรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น  โดยศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย  การรักษา  เวชระเบียน  สัมภาษณ์  และประเมินภาวะสุขภาพการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์

     ผลการศึกษา: กรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทยสถานภาพสมรสอายุ 57 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป ผู้ดูแลคือภรรยาและบุตร ไม่แพ้ยา อาการสำคัญมานอนโรงพยาบาลเพื่อให้ยาเคมีบำบัด ผลตรวจพบว่า CA rectum ได้รับการรักษาโดยยาเคมีบำบัด Cape-OX 1 cycle ส่งฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด เมื่อยาเคมีบำบัดครบ นัดทำ Colonoscopy วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ผลออกมาพบว่ายังต้องได้รับการรักษาต่อโดยการผ่าตัดต่อ  แพทย์ให้ติดตามอาการทุกเดือนรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทย สถานภาพสมรสอายุ 62 ปี อาชีพรับจ้างทั่วไป ดูแลคือมารดา ไม่แพ้ยา อาการสำคัญถ่ายลำบาก 1 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล การวินิจฉัยโรค CA rectum s/p Loop sigmoid colostomy ได้ยาเคมีบำบัด ท้องอืด มีปวดทวารมีมูกปนเลือดออกบ่อยครั้ง ทานได้ ถ่ายทางหน้าท้องไม่ออกทุกวัน ทานยาระบายทุกครั้ง ให้การรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัด Capecitabine 8 Cycle ครบDose  ติดตามอาการต่อเนื่องตามแผนการรักษา ให้ยาเคมีบำบัดต่อ ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง พร้อมทั้งได้รับการแก้ไขภาวะต่างๆอย่างรวดเร็ว มีการเตรียมความพร้อมทั้งก่อน ขณะ และหลังให้ยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิต

References

จุฬาพร ประสังสิต และกาญจนา รุ่งแสงจันทร์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลำไส้และรูเปิดทางหน้าท้อง:ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.จำกัด. 2558.

ธีรนุช บุญพิพัฒนาพงศ์. ภาวะแทรกซ้อนของทวารเทียม. ในจันทร์ฉาย แซ่ตั้ง. คู่มือการดูแลบาดแผลและทวารเทียม. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์. 2551.

บุศรา ชัยทัศน์. การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารใหม่: บทบาทพยาบาลเฉพาะทางบาดแผลออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2559.

ประทิน ไชยศรี. คู่มือการเตรียมผู้ป่วยเพื่อผ่าตัดเปิดช่องทวารใหม่ (colostomy). พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ดาราวรรณการพิมพ์. 2554.

ไพบูลย์ จิระไพศาลพงศ์. ความรู้ทั่วไปมะเร็งลำไส้. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร. 2555.

วิภาวดี ว่องวรานนท์. ผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ไส้ตรงและทวารหนักที่ [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2566].เข้าถึงได้จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/12975/1/

นภชาญ เอื้อประเสริฐ. Chulalongkornhematologyhandbook.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ; 2555. 82 – 87.

งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น: (เข้าถึงเมื่อ12 สิงหาคม 2566)

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับประชากร. จำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ [อินเทอร์เน็ต].มปท; c2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220319202153784

American Cancer Society. Colorectal cancerriskfactors[Internet].Atlanta,GA:ACS;2018[cited2020Jan27].Availablefrom:https://www.cancer.org/cancer/colon-rectal- cancer/causes-risks-prevention/risk-factors.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ทองแผ่น น. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 574–580. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269477