ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ศรีวิลัย นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลหนองพอก

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การแสดงพฤติกรรมรุนแรง, ผู้ป่วยจิตเวช

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ หาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Survey research for predictive correlational design) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหนองพอก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ดูแลหลักที่มีความเกี่ยวข้องเป็นบิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร หลาน หรือญาติพี่น้องและทำหน้าที่ให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นหลัก จำนวน 96 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression)

          ผลการศึกษาพบว่า  ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปีมากที่สุด สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นบิดา-มารดาของผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและเป็นผู้สูงอายุ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ลักษณะโครงการครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ส่วนผลการประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ภาพรวมของสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช พบว่า ตัวแปรที่สามารถร่วมทำนายการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช ประกอบด้วย ภาระเชิงปรนัย และการดูแลผู้ป่วยและญาติ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งสองด้าน สามารถร่วมทำนายการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช ร้อยละ 36.40

References

Fazel, S., Gulati, G., Linsell, L., Geddes, J. R., & Grann, M. (2009). Schizophrenia and violence: systematic review and meta-analysis. PLoS Med, 6(8), e1000120. https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1000120

Regier, D. A., Farmer, M. E., Rae, D. S., Locke, B. Z., Keith, S. J., Judd, L. L., & Goodwin, F. K. (1990). Comorbidity of mental disorders with alcohol and other drug abuse. Results from the Epidemiologic Catchment Area (ECA) Study. Jama, 264(19), 2511-2518.

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต. (2563). แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน (Acute care) สำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข (ระดับ A, S, M1 และ M2). บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.

กัญนิกา อยู่สำราญ, ศรีสกุล ชนะพันธ์, & พานิช แก่นกาญจน์. (2565). ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 9(16), 1-16. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/253495/173429

ขนิษฐา กู้ศรีสกุล, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, ณัฐพัชร์ มรรคา, & กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. (2557). ภาระโรคจิตเวชและความผิดปกติของพฤติกรรมใช้สุราสารเสพติดในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(1). https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/142911

จิรศักดิ์ ประจงแก้ว. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท มหาวิทยาลัยบูรพา].

ชิดชนก โอภาสวัฒนา. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด. http://www.mhso.dmh.go.th/fileupload/202010061612167390.pdf

นรวีย์ พุ่มจันทร์. (2548). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทและญาติ:กรณีศึกษาในผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงกลางวันสถาบันจิตเวชศาตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 13(3), 146-156.

พรทิพย์ ซุ่นอื้อ. (2565). ความชุกของการใช้สารเสพติดในผู้ป่วยจิตเวชที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลตรัง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 36(3), 71-80. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/258308/178188

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2556). การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556: วิธีการและกระบวนการ

Thai national mental health survey 2013: methodology and procedure. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 24(1). https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/download/63579/52193/

พิชามญชุ์ ปุณโณทก. (2562). ความพร้อมและความต้องการสำหรับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของญาติผู้ดูแลและภาคีเครือข่ายในชุมชนเขตจังหวัดชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ ]. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3906?show=full

วาสนา นามเหลา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการในโรงพยาบาลสระแก้วราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา]. http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/psychiatry/adult/P1.2.3.pdf

วุฒิชัย ชวนชนก, ภัททราภรณ์ ภทรสกุล, & สมบัติ สกุลพรรณ์. (2565). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภทในแผนกจิตเวชฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 36(3), 81-97. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/download/260252/178258

ศรินรัตน์ จันทพิมพ์. (2018). การดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 36(2), 68-76. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/download/139707/103633/370989

เสาวณีย์ จันทร์ฉาย. (2565). ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในเครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์ เขต 4-5, 41(2), 221-232. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/258501/176232

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ศรีวิลัย เ. (2023). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 467–474. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269482