รูปแบบในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยาฉีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยจิตเวช, ใช้ยาฉีด, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยาฉีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และศึกษารูปแบบในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยาฉีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ มีระยะเวลาการดำเนินงานวิจัย ระหว่างเดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2566 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในชุมชนตำบลบัวขาว โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จำนวน 132 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และDependent t – test
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยาฉีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังการดำเนินงานโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยาฉีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ระหว่างผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้นำชุมชน และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ไม่มีความแตกต่างและความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยาฉีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ก่อนและหลังการดำเนินงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้ยาฉีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มากกว่าก่อนการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับการประเมินติดตามเยี่ยมตามเกณฑ์ร้อยละ 100 และอุบัติการณ์การเกิดภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชในชุมชน เท่ากับ 0
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2560) คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ(ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: บริษัท วิคทอเรียอิมเมจ จำกัด
จิราพร รักการ.(2565). การรักษาด้วยยาทางจิตเวช ใน การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ภควัต วิวัฒนวรเศรษฐ์.(2565) เอกสารประกอบการสอน เรื่องการใช้ยาทางจิตเวชอย่างสมเหตุสมผล http://medinfo2.psu.ac.th/psychiatry/elearning/document/undergrade/doc5/doc%20rational%20drug%20use.pdf
ธนัฎชา สองเมือง.(2565). ความร่วมมือในการใช้ยาและการกำเริบในผู้ป่วยจิตเภท หลังถูกส่งตัวรักษาต่อเนื่อง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 31 ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2565
มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี ฉบับเรียบเรียง ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
มาโนช หล่อตระกูล. คู่มือการใช้ยาทางจิตเวช. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2550.
Winston WS. A history of antipsychotic drug development. Comprehensive Psychiatry 1999; 40: 407-414.
Stahl SM. Essential Psychopharmacology Neuroscientific Basis and Practical Applications. New York: Cambridge University Press; 2013.
มาโนช หล่อตระกูล, บรรณาธิการ. การใช้ยาจิตเวชในทางคลินิก. กรุงเทพฯ:ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.
John W. Best.(1981). Research in Education, 4 th ed. New Jersey : Prentice – Hall Inc.
วินัย รอบคอบ, ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ และ วรภรณ์ ทินวัง. รูปแบบการส่งเสริมการรู้เท่าทัน สุขภาพจิต เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าในประชาชนของจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(3); 11-22
กนกศรี จาดเงินและ เกศิรินทร์ เชื่อภักดี (2562) การพัฒนาแนวทางการลดอัตราการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน ตำบลบางปะกง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 5(2). 76-85