การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด 1 (Diabetes Mellitus Type I): กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา ศรวิเศษ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, เบาหวานชนิดที่ 1, อินซูลิน

บทคัดย่อ

    การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค การรักษาพยาบาลและผลของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด 1 โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด 1 จำนวน 2 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก แบบประเมินปัญหาและความต้องการการพยาบาลโดยใช้กรอบแนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน  ใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการพยาบาล

     ผลการศึกษา พบว่ารายที่1เป็นหญิงไทยอายุ 27 ปี ประวัติโรคประจำตัวคือเบาหวาน เป็นเบาหวานตั้งแต่อายุ 16 ปี กรณีศึกษารายที่ 2 เป็นชายไทยอายุ 15 ปี ประวัติโรคประจำตัวคือเบาหวาน เป็นเบาหวานตั้งแต่อายุ 4 ปี และผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยใช้ อินซูลินทุกวันเพื่อปรับระดับน้ำตาลในร่างกายกรณีศึกษาที่ 1 เกิดเรื้อรังนานๆ ทำให้เกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตา และในกรณีศึกษารายที่ 2 เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังตามมาคือ เกิดภาวะ Diabetic ketoacidosis เบาหวานลงไต

References

การประเมินความคุ้มค่าของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่ฉีดอินซูลินในบริบทประเทศไทย 2557. HITAP

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2546). รูปแบบการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

กรมควบคุมโรค. (2546). คู่มือการดูแลตนเองเบื้องต้นเรื่องอาหาระรู้ทัน เบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิชาการ. (2541). การศึกษาทางเลือก: วิวัฒน์หรือวิบัติในยุคโดกไร้พรมแดน กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กัญญา บุตรศรนรินทร์. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วเบาหวานที่มารับการรักษาต่อเนื่องโรงพยาบาลบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ ส.ม.. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

กาญจนา ประสารปราน. (2525). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับการควบคุมโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ วท.ม.มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

กุลลภา ศรีสวัสดิ์, สุทิน ศรีอัษฎาพร. (2548; 583-608) การดูแรักษาและป้องกันแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. อ้างอิงใน: สุทิน ศรีอัษฎาพร, วรรณีนิธิยานันท์, บรรณาธิการ.

ขนิษฐา นาคะ. (2542). วิถีชีวิตและการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชนบทแห่งหนึ่งในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการโภชนาการชมรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน, โภชนบำบัดโรคเบาหวานใน: โครงการให้ความรู้ โรคเบาหวาน 21-24 กุมภาพันธ์ 2543 ขมรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน.

จิราพร พรายมณี. (2550). การวัดและประเมินผลด้านพุทธพิศัช (ตามลำดับขั้นของบลูม). วิชาการวัดและประเมินการศึกษาคณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.

จุฑารัตน์ ลมอ่อน. (2548). ผลการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานซนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ส.ม.. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ชูศรี เมฆหมอก, จันทร์ฉาย ตระกูลดี และสายฝน ม่วงคุ้ม.(2543).ผลการพยาบาลแบบตั้งเป้าหมายร่วมกัน.

เทพ หิมะทองคำ. (2547). บทนำในรัชตะรัชตะนาวินและธิดานิงสานนท์. (บรรณาธิการ), ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์, (พิมพ์ครั้งที่ 3) ปรับปรุงใหม่, หน้า 19-22) กรุงเทพฯ: Young LH, Chyun DA. Heart disease in patients with diabetes. In: Porter D, Baron A, Sherwin R, eds. Ellenberg and Rifkin’s Diabetes Mellitus: Theory and Practice. 6th ed. New York, NY: McGraw-Hill

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ศรวิเศษ เ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด 1 (Diabetes Mellitus Type I): กรณีศึกษา. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 669–673. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269549