การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ กิณเรศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก, ตาบอด, การเอาอวัยวะภายในออก, การบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตกแบบเปิด, การถูกตัดขาด, การทะลุ, การเย็บซ่อมกระจก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วยผู้ป่วยผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก มีการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

     ผลการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก เป็นเพศชายทั้ง 2 ราย ผู้ป่วยรายที่ 1 ชายไทยอายุ 51 ปี ผู้ป่วยรายที่ 2 ชายไทยอายุ 66 ปี ผู้ป่วยทั้ง 2 รายนี้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจากการทำงานที่ตาซ้าย  ซึ่งผู้ป่วยรายแรก สามารถรักษาได้หาย ไม่มีความพิการ แต่ผู้ป่วยรายที่ 2 ได้ถูกควักลูกตาซ้าย ทำให้สูญเสียอวัยวะ  ผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียลูกตาและภาพลักษณ์ มีการร่วมวางแผนจำหน่ายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ขณะอยู่ในโรงพยาบาล การดูแลได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และวางแผนกับครอบครัว พยาบาลมีบทบาทความสำคัญต่อผู้ป่วยมีการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก การบูรณาการพยาบาลแบบองค์รวมและเสริมพลังอำนาจให้ครอบครัว ร่วมกับผู้นำชุมชน ตลอดจนการติดตามเยี่ยม ผลลัพธ์การดูแล ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม สามารถกลับไปทำงานได้

References

ภาวะลูกตาแตกในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ปีงบประมาณ 2547-2550 = Rupture G...: Discovery Service for Khon Kaen Univ. [Internet]. [cited 2023 Oct 14]. Available from: https://eds.s.ebscohost.com/eds/detail/detail?vid=3&sid=22fb5c1f-4996-4924-8a11-d582e0cec971%40redis&bdata=JnNpdGU9ZWRzLWxpdmU%3d#AN=kkuj.j00199345&db=cat07491a

Skarbek-Borowska SE, Taggart Campbell K. Globe Rupture and Nonaccidental Trauma: Two Case Reports. Pediatric emergency care. 2011 Jan 1;27(6):544–6.

Hughes E, Fahy G. A 24-month review of globe rupture in a tertiary referral hospital. Irish Journal of Medical Science (1971 -). 2020 May 1;189(2):723–6.

Franca Chinyere Awurum. Management of Traumatic Globe Rupture: Case Report. Journal of the Nigerian Optometric Association. 2022 Aug 2;

Finn AP, Choi CJ, Eliott D. Case 42: Open Globe Rupture and Retinal Detachment with Retinal Incarceration from Baseball Injury. Cham: Springer International Publishing; 2018. 487 p. (Management of Open Globe Injuries).

Elder MJ, Stack RR. Globe Rupture Following Penetrating Keratoplasty: How Often, Why, and What Can We Do to Prevent It? CORNEA -NEW YORK-. 2004 Jan 1;23(8):776–80.

อุบัติเหตุลูกตาแตกและท่อน้ำตาขาด ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ: Discovery Service for Khon Kaen Univ. [Internet]. [cited 2023 Oct 14]. Available from: https://eds.s.ebscohost.com/eds/detail/detail?vid=8&sid=22fb5c1f-4996-4924-8a11-d582e0cec971%40redis&bdata=JnNpdGU9ZWRzLWxpdmU%3d#AN=kkuj.j00181932&db=cat07491a

อุบัติการณ์ของภาวะลูกตาแตกในโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช: Discovery Service for Khon Kaen Univ. [Internet]. [cited 2023 Oct 14]. Available from: https://eds.s.ebscohost.com/eds/detail/detail?vid=1&sid=22fb5c1f-4996-4924-8a11-d582e0cec971%40redis&bdata=JnNpdGU9ZWRzLWxpdmU%3d#AN=kkuj.j00231845&db=cat07491a

การใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่และยารับประทานในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยลูกตา...: Discovery Service for Khon Kaen Univ. [Internet]. [cited 2023 Oct 14]. Available from: https://eds.s.ebscohost.com/eds/detail/detail?vid=6&sid=22fb5c1f-4996-4924-8a11-d582e0cec971%40redis&bdata=JnNpdGU9ZWRzLWxpdmU%3d#AN=kkuj.j00170510&db=cat07491a

วงศ์ณรัตน์ อ. อุบัติการณ์การบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตกในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2019;16(3):168–75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

กิณเรศ เ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ตาชนิดลูกตาแตก : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 679–683. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269553