การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อนเพื่อใส่ท่อระบายน้ำดี : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
ท่อระบายน้ำดี, มะเร็งท่อทางเดินน้ำดี, การส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อนบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ได้รับการส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อนเพื่อใส่ท่อระบายน้ำดี โดยคัดเลือกผู้ป่วยแบบจำเพาะเจาะจง 2 ราย ที่ได้รับการส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อนในโรงพยาบาลขอนแก่นระหว่างเดือน สิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล ประเมินและสรุปผล
ผลการศึกษา : เปรียบเทียบกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 ได้รับการวินิจฉัยเป็น Intraductal cholangiocarcinoma ผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อนเพื่อใส่ท่อระบายน้ำดีชนิดโลหะ ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2 ได้รับการวินิจฉัยเป็น Advance cholangiocarcinoma ผู้ป่วยได้รับการส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อนเพื่อใส่ท่อระบายน้ำดีชนิดโลหะ ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย สามารถระบายน้ำดีผ่านกล้องจากตับมาที่ลำไส้เล็กส่วนต้นได้ ทำให้ผู้ป่วยลดอาการจุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร บรรเทาอาการเหลืองลดลงได้ ก่อนทำหัตถการผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อน ขณะและหลังทำหัตถการ ทำให้ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
References
ทวี รัตนชูเอก. (2553). หัตถการการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อนเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.
จิราภรณ์เตชะอุดมเดช. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์. กรุงเทพฯ : สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สมาร์ทโค๊ทติงแอนด์เซอร์วิสจำกัด.
ธวัช อิงศิโรรัตน์. ผลการรักษาประคับประคองโดยการใส่ท่อระบายน้ำดีในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ในKhon Kaen Medical Journal : หน้า 24 – 31
ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์. (2549). คู่มือการเตรียมและประเมินผู้ป่วยก่อนทำ Endoscopic Procedures และการพยาบาล. โรงพยาบาลราชวิถี.
ระวิศักดิ์ จันทร์วาสน์, สุพัตรา รักเอียด และคณะ. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565, จากhttps://www.nci.go.th/th/cpg.
สมปอง พะมุลิลา, บ้าเพ็ญจิต แสงชาติ. ระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้าดี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ; 40 : 84 – 85
อภัย สุขเจริญ. (2560). การพัฒนาแบบแผนการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดิน อาหารส่วนต้น.มหาวิทยาลัยคริสเตียน
อรอนงค์ ทัพสุวรรณ์. (2559). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อน้ำดีที่ได้รับการส่องกล้องตรวจรักษาท่อน้ำดีและตับอ่อน. โรงพยาบาลศิริราช.