การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, ได้รับยาละลายลิ่มเลือดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะราย (Case study) เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ติดตามอาการต่อเนื่องที่คลินิกศัลยกรรมทรวงอก งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วย แบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย การสังเกตและสอบถามญาติผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลประเมินปัญหาและความต้องการการพยาบาล โดยใช้กรอบแนวคิด 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน วางแผนกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด นำสู่ผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ผลการศึกษา: จากการศึกษากรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นหญิง กรณีศึกษาที่ 1 อายุ 51 ปี อาการสำคัญที่โรงพยาบาล mitral stenosis มาติดตามอาการตามนัดหลังผ่าตัดกรณีศึกษาที่ 2 อายุ 53 ปี อาการสำคัญที่โรงพยาบาล mitral stenosis และTricuspid regurgitation มาติดตามอาการตามนัด การผ่าตัดทำให้การดำเนินชีวิตมีข้อจำกัดมากขึ้น มีความยากลำบากในการดูแลสุขภาพตนเอง ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดอย่างสม่ำเสมอตลอดชีวิต ผู้ป่วยกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย รวมทั้งจะต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องส่งต่อข้อมูลและติดตามอาการในโรงพยาบาลเครือข่าย การมาพบแพทย์ตามนัด ผู้ป่วยต้องเรียนรู้เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้และจัดการตนเองได้ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและมีคุณภาพที่ดีได้
References
กองยุทศาสตรและแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี 2565. [Internet]. ปทุมธานี: [เข้าถึงเมื่ออ วันที่ 10 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/ sites/default/files/statistic66.pdf
จันทร์เพ็ญ ปัวเผื่อน. (2010). การป้องกันการติดซื้อที่ตำแหน่งแผลผ่าตัด. Retrieved June 3, 2014, htp://oospital.md.kiku.ac.th/ic/ic_manual_2566_sa/ic6_b_12.pdf
ธิวาสา ลีวธันะ. (2548). การประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดและปัจจัยที่มีผลกระทบ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์. (2554).เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหัวใจฮะหลอคเสือด Cardionzrcular Campitiored Tomogruphy. กรุงเทพฯ:
ปราณี ทู้ไพเราะ คู่มือยา (พิมครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด; 2554.
วาสา สีวัชนะ. (2548). การประเมินความสามารถใมการคูแลตนเอง คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดและปัจจัยที่มีผลกระทบ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา (พิมครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด; 2554.
งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลขอนแก่น: (เข้าถึงเมื่อ12 สิงหาคม 2566)
ประทุม สร้อยวงศ์. (2564). การพยาบาลอายุรศาสตร์: เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.