การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่มีภาวะแคลเซียมต่ำวิกฤตหลังผ่าตัดร่วมกับ มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ ชวนรำลึก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านหมี่

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การผ่าตัดต่อมไทรอยด์, ภาวะแคลเซียมต่ำ, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่มีภาวะแคลเซียมต่ำวิกฤตหลังผ่าตัดร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 59 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้านหมี่ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ด้วยอาการ มีก้อนโตที่คอ โตขึ้น 1 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล  แพทย์นัดมานอนโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดต่อมไทรอยด์

     ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีปัญหาในระยะก่อนผ่าตัด ได้แก่ มีความวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา และวิธีปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัดผู้ป่วยมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะซีดที่เกิดจากการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด 800 มิลลิลิตร ได้วางแผนการพยาบาลเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน และวันที่ 2 หลังผ่าตัดมีภาวะวิกฤตหลังจากเอาท่อหลอดลมคอออก เนื่องจากเกิดภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นส่งผลให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันต้องใส่ท่อหลอดลมคออีกครั้งและใช้เครื่องช่วยหายใจ ต่อมาผู้ป่วยได้รับการเจาะคอ เมื่อพ้นระยะวิกฤตผู้ป่วยสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ แต่ยังไม่สามารถนำท่อเจาะคอออกได้เนื่องจากผลการส่องกล้องตรวจระบบกล่องเสียงและหลอดลม พบว่า ผู้ป่วยมีภาวะสายเสียงเป็นอัมพาต พยาบาลได้มีการวางแผนจำหน่ายร่วมกับทีมสุขภาพ โดยแพทย์ให้ความรู้เรื่องโรค พยาธิสภาพโรค การพยากรณ์โรค สอนการจัดการดูแลตนเองที่บ้านแก่ ผู้ป่วยและผู้ดูแลโดยเน้นการดูแลท่อเจาะคอเพื่อป้องกันภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นและการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ได้แก่ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 17 วัน

References

นพวรรณ บุญบำรุง. (2560). ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤต: การพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์; 37(2): 160-168

ธารกมล อนุสิทธิ์ศุภการ. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร; 28(2): 49-60.

วรเวทย์ โรจน์จรัสไพศาล. (2562). การทำนายภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำหลังผ่าตัดไทรอยด์ โดยใช้แนวโน้มของระดับแคลเซียมในเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์; 32(2):69-78

American Thyroid Association. (2017). The Guidelines of the American Thyroid Association for the Diagnosis and Management of Thyroid Disease During Pregnancy and the Postpartum.; 27(3): 315-89.

Ahmad A, Khan HM, Chaudhry N, et al. (2016). Post thyroidectomy hypocalcaemia-an audit of 100 cases. Annals of KEMC; 12(2): 285-7.

Wu J, Harrison B. (2010). Hypocalcemiaafter Thyroidectomy: The need for improved Definition. World J Endocr Surg; 2(1):17-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ชวนรำลึก ส. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่มีภาวะแคลเซียมต่ำวิกฤตหลังผ่าตัดร่วมกับ มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 974–980. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269597