รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การดูแล, หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและสภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และศึกษารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการวิจัย ระหว่างเดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2566 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่มรับบริการที่โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 74 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า สภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2563 – 2565 มีการฝากครรภ์ครบเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 18.48 , 36.36 และ 18.52 ตามลำดับ โดยมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ LBW Preterm และ HCT ต่ำกว่า 33% ปี 2566 มีการฝากครรภ์ครบเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 39.19 โดยมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ LBW Preterm และ HCT ต่ำกว่า 33% การเปรียบเทียบความเข้าใจในการเฝ้าระวังอาการและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจในการเฝ้าระวังอาการและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มากกว่าก่อนการดำเนินงาน
References
กิติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, เอกชัย โควาวิสารัช, ประกายดาว พรหมประพัฒน์ และจันทกานต์ กาญจนเวทางค์. (2558). คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.
บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. (2557). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: นโยบาย แนวทางการดาเนินงานและติดตามประเมินผล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด.
บุรเทพ โชคธนานุกุล และกมลชนก ขาสุวรรณ. (2559). “การตั้งครรภ์วัยรุ่น” ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
ปัญญา สนั่นพานิชกุล ยศพล เหลืองโสมนภา.(2558). การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น : ปัจจัยทางด้านมารดาที่มีผลต่อทารก วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย. 2558 147-56
ปาริฉัตร อารยะจารุ. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ต่อความวิตกกังวล ระดับความเจ็บปวด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, มหาวิทยาลัยมหิดล.
พรรณี พิณตานนท์ ดรุณี ทองคำฟู ชนานันท์ ปัญญาศิลป์ สุรัสวดี เวียงสุวรรณ.(2558). การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น : ONE STOP SERVICE โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่. วารสารการสงเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจําเดือน มกราคม –มิถุนายน 2558 75 - 88
พิริยา ศุภศรี. (2546). การพยาบาลในระยะคลอด. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จากัด.
ภาวิน พัวพรพงษ์, คมกฤช เอี่ยมจิรกุล, ศิรินุช ชมโท และอรพร ดารงวงศ์ศิริ. (2559). เวชปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จากัด.
มานี ปิยะอนันต์, ชาญชัย วันทนาศิริ และประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล. (2552). ตาราสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท พี. เอ. ลีฟวิ่ง จากัด.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2558). การพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ.
เมษปภา สุดเพชร.(2562). คู่มือการพยาบาล การดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในระยะคลอด. งานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ยุพา พูนขา, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ และรุจิรา วัฒนายิ่งเจริญชัย. (2558). คู่มือแนวทางการดาเนินงานคลินิกวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สานักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ยุพา พูนขา, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ และรุจิรา วัฒนายิ่งเจริญชัย. (2558). คู่มือแนวทางการดาเนินงานคลินิกวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สานักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
เยื้อน ตันนิรันดร และวรพงศ์ ภู่พงศ์. (2551). เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จากัด.
รสวันต์ อารีมิตร, สุภิญญา อินอิว, บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์, ศิริไชย หงส์สงวนศรี และสมจิตร์ จารุรัตนศิริกุล. (2559). ตาราเวชศาสตร์วัยรุ่น. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจากัด ภาพพิมพ์.
รสวันต์ อารีมิตร, สุภิญญา อินอิว, บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์, ศิริไชย หงส์สงวนศรี และสมจิตร์ จารุรัตนศิริกุล. (2559). ตาราเวชศาสตร์วัยรุ่น. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจากัด ภาพพิมพ์.
วีรวรรณ ภาษาประเทศ, เพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์ และสิตานันท์ ศรีใจวงศ์. (2556). การพยาบาลระยะคลอด. นนทบุรี: บริษัท ยุทธรินทร์ การพิมพ์ จากัด.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (เล่ม2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศศิธร พุมดวง. (2555). สูติศาสตร์ระยะคลอด. สงขลา: บริษัท อัลลายด์เพรส จากัด.
ศิราภรณ์ สวัสดิวร, กรรณิการ์ บางสายน้อย, กุสุมา ชูศิลป์, รัชดา เกษมทรัพย์, ศิริลักษณ์ ถาวรวัฒนะ,ธิดารัตน์ วงศ์วิสุทธิ์ และวไล เชตะวัน. (2555). เรียนรู้นมแม่จากภาพ (ฉบับประเทศไทย). กรุงเทพฯ: บริษัท ยูเนี่ยน ครีเอชั่น จากัด.
ศิวพร สุดเพชร. (2557). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนโดยสามีในระยะที่ 1 ของการคลอดต่อความเครียด ความเจ็บปวด และความพึงพอใจต่อการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และโภชนาการเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัด พรี-วัน.
สุกัญญา ปริสัญญกุล และนันทพร แสนศิริพันธ์. (2553). การพยาบาลสตรีในระยะคลอด. เชียงใหม่: บริษัท นันทพันธ์พริ้นติ้ง จากัด.
สุพร อภินันทเวช, บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์, จิราภรณ์ อรุณากูร และภัทรวลัย ตลึงจิตร. (2558). การดูแลแม่วัยรุ่นแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัด ฮาซัน.
อรนันท์ หาญยุทธ. (2557). กระบวนการพยาบาลและการนาไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 137-143.
อุษมา ช้อนนาค, วีรวิทย์ ปิยะมงคล.(2565). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Teenage pregnancy) https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/49484/