การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อรพิน ตันมงคล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลราชวิถี

คำสำคัญ:

การพยาบาลมารดาหลังคลอด, ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง, ภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

     กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลของมารดาที่มีความเสี่ยงและความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง โดยผ่านกรณีศึกษา 2 ราย ที่เข้ารับการดูแลรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษ 5ก โรงพยาบาลราชวิถี วิธีการวิจัย: ศึกษามารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง จำนวน 2 ราย และมีครรภ์แฝด 1 ราย เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นเวชระเบียนมารดาหลังคลอด ประเด็นการเปรียบเทียบ คือ แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ การพยาบาลปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ

     ผลการวิจัย พบว่า มารดาหลังคลอดกรณีศึกษาที่ 1 มี LOS 4 วัน จำหน่ายกลับบ้านพร้อมบุตร กรณีศึกษาที่ 2 มี LOS 5 วัน เนื่องจาก มีปัญหาความดันโลหิตยังไม่คงที่ ต้องได้รับยาลดความดันโลหิตไปรับประทานต่อที่บ้าน และมีประเด็นเรื่องบุตรน้ำหนักตัวน้อย ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจส่งต่อรักษาไปที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อย่างไรก็ตาม พบว่า บุตรกรณีศึกษาที่ 2 มีอาการดีขึ้นตามลำดับ มี LOS ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 24 วัน

References

WHO. Maternal mortality. [Internet] [ cited 2015 April 6]. Available from URL: http://www.who.int/mediacentre/fact sheets/fs348/en/

Say L, Chou D, Gemmill A, Tunçalp Ö, Moller AB, Daniels J, et al. Global causes of Maternal death: a WHO systematic analysis. Lancet Glob Health 2014; 2: e323-33.

Cunningham FG, et al. Williams obstetrics (24nd ed.): New York: McGraw Hill; 2014.

Pillitteri A, Maternal & child health nursing: Care of the childbearing & childrearing family (7thed.): China: Lippincott Williams & Wilkins; 2014.

ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์. การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 3: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: 2555.

นันทพร แสนศิริพันธ์, และฉวี เบาทรวง. การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. พิมพ์ ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: บริษัทสมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จ้ากัด; 2561.

รังสรรค์ เดชนันทพิพัฒน์และสุชยา ลือวรรณ. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertension in pregnancy). คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

ปัญญา สนั่นพานิชกุล. ความเข้าใจและแนวคิดเกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษในปัจจุบัน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า; 2558

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพ: พิมพ์อักษร; 2562.

Devendra BN, Seema KB, Kammappa KA. Episiotomy wound haematoma: Recognition management and healing assessment by REEDA scale in postpartum period. IOSR Journal of Dental and Medical Sciences (IOSRJDMS) 2015; 14(9): e8-11.

ณัชนันท์ ชีวานนท์ และคณะ. ความทุกข์ทรมานของมารดาที่มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ตันมงคล อ. (2023). การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 766–773. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269603