กระบวนการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เบญจมาภรณ์ ศิริโสม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกมลาไสย

คำสำคัญ:

กระบวนการจัดการ, อุบัติเหตุทางถนน, การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์และกระบวนการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการวิจัย ระหว่าง เดือน มิถุนายน 2565 – ตุลาคม 2566 รวมระยะเวลา 16 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 10 ตำบลๆ ละ 12 รวมทั้งสิ้น 120 คน เก็บข้อมูลจากแบบสรุปผลการดำเนินงานและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test

     ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อกระบวนการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ของ ศปถ.ระดับตำบล ก่อนการดำเนินงานโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ ปานกลางและ ไม่มีความแตกต่างกัน หลังการดำเนินงานโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุดและไม่มีความแตกต่างกัน ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อกระบวนการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ของ ศปถ.ระดับตำบลมากกว่าก่อนการดำเนินการ และการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ของ ศปถ.ระดับตำบล ปี 2566 พบว่าการบาดเจ็บลดลงจากปีที่ผ่านมา โดยรวมน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปี 62 – 65 แต่ยังมีตำบลที่เกินค่าเฉลี่ย ได้แก่  หลักเมือง ธัญญา หนองแปนและโคกสมบูรณ์ และตำบลที่มีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ได้แก่ ตำบลกมลาไสย

References

World Health Organization. (2018). Global status report on road safety 2018. World Health Organization. Retrieved 29 April 2021, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/276462/9789241565684-eng.pdf

วิทยา ชาติบัญชาชัย, (2565)สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนและการจัดการกับปัญหาของประเทศไทย. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2022): กรกฎาคม-ธันวาคม.

กรุงเทพธุรกิจ.(2565). ไทยมีอุบัติเหตุทางถนน ปี 2565 กว่า 9.3 แสนครั้ง. https://www.bangkokbiznews.com/auto/1046574

WHO.(2022). Road traffic injuries. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries

Jitlakha Sukruay.(2020) Road accidents biggest health crisis. Thailand Development Research Institute (TDRI).https://tdri.or.th/en/2020/11/road-accidents-biggest-health-crisis/

Best, J.W. (1981). Research in Education.New Jersey : Prentice - Hall.

ฉลองชัย สิทธิวัง นิยม สุนทร กรภัทร ขันไชย ชาญชัย มหาวัน นิคม อุทุมพร เกษร ไชยวุฒิ กันจน เตชนันท์.(2564). การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย

อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน. รายงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2559). แนวทางการประเมินการดำเนินงานการป้องกัน การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในระดับอำเภอ กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ.2561 [อินเตอร์เนต]. เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2564 จาก http://ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2561/E/054/1.PDF

มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและสำนักพัฒนายุทธศาสตร์ดีวิถีไทย. (2563). บทเรียน พชอ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.นนทบุรี.

มิตร สารัตน์.(2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบและกลไกของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 161-74

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ศิริโสม เ. (2023). กระบวนการจัดการอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 781–787. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269605