การพยาบาลมารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ใช้สารเสพติด : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นันท์นภัส เพรงมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, การใช้สารเสพติด, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา 2 ราย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลกรณีศึกษามารดาเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและยังไม่หยุดใช้สารเสพติดตลอดการตั้งครรภ์ 2 ราย ที่มารับการรักษาที่ห้องคลอดโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เปรียบเทียบผู้คลอดที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ใช้สารเสพติด 2 รายโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนกอร์ดอน และกระบวนการพยาบาลในการวางแผนการพยาบาล
     ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยอายุ 18 ปี G2P0-0-1-0 ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเขาสวนกวาง เมื่ออายุครรภ์ 18+3 สัปดาห์ ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก (Tetanus toxoid) กระตุ้น 1 เข็ม มาตรวจตามนัด 4 ครั้ง ในระหว่างตั้งครรภ์ทำงานร้านอาหารเป็นเด็กเสิร์ฟต้องเดินบ่อยและทำงานล่วงเวลา พักผ่อนน้อยรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา คลอดเมื่ออายุครรภ์ 36+2 สัปดาห์ คลอดปกติทารกเป็นเพศชาย น้ำหนักแรกคลอด 2,510 กรัม ตัวยาว 50 cm. ประเมิน APGAR SCORE = 9 , 10 ทารกหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรกตรวจ DTX = 91 มก/ ดล. , Hct = 67% ทารกหลังคลอดมีปอดอักเสบร่วมด้วยจึงอยู่รักษาต่อที่โรงพยาบาลอีก 7 วัน อาการดีขึ้นแพทย์จึง อนุญาตให้กลับบ้านได้ กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยอายุ 25 ปี G4P2-0-1-2 ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเขาสวนกวาง เมื่ออายุครรภ์ 24+3 สัปดาห์มีภาวะซีดได้รับยาFerrous Sulfateไปรับประทานที่บ้านเป็นระยะเวลานาน 1 เดือน ติดตามผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 พบ Hct เพิ่มขึ้น มาตรวจตามนัดเพียง 2 ครั้ง ในระหว่างตั้งครรภ์มีการเสพยาแอมเฟตามีนและดื่มแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เมื่อมีการร่วมสังสรรค์กับเพื่อนๆโดยเสพยาและดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องมาจนคลอด เจ็บครรภ์คลอดมา 3 ชั่วโมง 40 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล คลอดเมื่ออายุครรภ์ 35+4 สัปดาห์ คลอดปกติทารกเป็นเพศหญิง น้ำหนักแรกคลอด 2,130 กรัม ตัวยาว 48 cm. ประเมิน APGAR SCORE = 10, 10 ทารกหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรกตรวจ DTX = 40 มก/ ดล, Hct = 66% ทารกหลังคลอดมีปอดอักเสบร่วมด้วยจึงอยู่รักษาต่อที่โรงพยาบาลอีก 7 วัน แต่มีอาการหายใจหอบแพทย์จึงส่งต่อทารกไปรักษาที่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิของจังหวัด

References

กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557.นนทบุรี สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2557

บุศรินทร์ เขียนแม้น เยาวเรศ ก้านมะลิ และวรรณวิมล ทุมมี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15 (3): 286-300

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลเขาสวนกวาง. สถิติผู้ป่วยในโรงพยาบาลเขาสวนกวาง ประจำปี 2563-2565. โรงพยาบาลเขาสวนกวาง. 2563-2565.

นงเยาว์ เอื้อตรงจิตต์. ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์เดี่ยวที่ได้รับการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด.วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2562; 10 (1): 1-10.

มานัส โพธาภรณ์. เสพยาขณะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งแม่และเด็ก. วันที่สืบค้น 25 สิงหาคม 2566

ศิริวรรณ แสงอินทร์. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 22 (1): 27-38.

สินี แจ่มกระจ่าง. การพยาบาลมารดาคลอดที่ใช้สารเสพติด. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี ปีที่ 31 ฉบับที่ 2.วันที่สืบค้น 25 กันยายน 2566

Pinhom S, Sananreangsak S, Terarungsikul N. Effect of maternal coaching program on maternal behaviour in caring for children with pneumonia. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. 2021; 15(2): 82-93. (In Thai)

Chamninork K, Aree P, Lamchang S. Related factors of maternal practices for recurrent pneumonia prevention among children. Nursing Journal.2020;47(1): 77-87. (In Thai).

Sueram K. Nursing care for children with respiratory disorders. 2nd ed. Khon Kaen: Faculty of Nursing,Khon Kaen University; 2021. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29