การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ถมญาณี โชติการณ์
  • นฎา จันทไทย
  • พัชรินทร์ ภูวิเลิศ
  • ทัศนีย์ ภูตรี

คำสำคัญ:

การดูแลต่อเนื่อง, การบริบาลฟื้นฟูสภาพ, ผู้ป่วยระยะกลาง, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลาง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ ผู้ป่วยระยะกลาง ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้นำชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 40 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้ป่วยระยะกลางทุกประเภทที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและมีการส่งต่อเพื่อรับบริการฟื้นฟูต่อเนื่องที่บ้าน จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (The Barthel Activities of Daily Living Index : ADL) และแบบประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L (The European Quality of Life Measure-5 Domain) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test

     ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่พัฒนาขึ้น จะมีการเชื่อมต่อระบบการดูแลผู้ป่วยหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลไปดูแลต่อเนื่องที่บ้าน มีระบบการส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องและฟื้นฟูสภาพโดยใช้โปรแกรม COC โปงลาง Stroke@BI และไลน์กลุ่ม IMC บูรณาการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางจากทุกภาคส่วนทั้งทีมสหวิชาชีพ ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้ผู้ป่วยระยะกลางที่ได้รับการบริบาลฟื้นฟูสภาพและติดตามจนครบ 6 เดือน หรือจน Barthel index = 20 ก่อนครบ 6 เดือน ร้อยละ 90.98 2) หลังได้รับรูปแบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับรูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.80 และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีค่าคะแนนอรรถประโยชน์จากแบบประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L และคะแนนคุณภาพชีวิตจากเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต VAS เพิ่มขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา.(2559).แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง = Clinical practice guideline for stroke rehabilitation.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ในการบรรยายการฟื้นฟูระยะกลาง : (2565).

รัชวรรณ สุขเสถียร.(2557). การเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลันแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์. สืบค้นวันที่ 18 สิงหาคม 2565 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/aseanjrm/article/view/423

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2565). เอกสารตรวจราชการ Service Plan สาขา Intermediate Care. จังหวัดกาฬสินธุ์.

Kemmis and McTaggart (1988). Action Research Spiral/Cycle. https://www.researchgate.net/figure/The-Kemmis-and-McTaggart-1988-Action-Research-Spiral-Cycle_fig1_279948945.สืบค้นวันที่ 19 สิงหาคม 2565.

วีระศักดิ์ รัตนชัยฤทธิ์, รุจิรา จันทร์หอม และ เสถียรพงษ์ ศิวินา. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care : IMC) จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด. 15(2), 119-132

นารี บุศยพงษ์ชัย, นางวชิราภรณ์ ศรีภักดี, นางสาวธันยาพร นามบุญลือ และ นางบุปผา อาศรัยราช. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่าน จากโรงพยาบาลสู่บ้านของศูนย์ดูแลต่อเนื่อง กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลหนองคาย. 1(3), 1-20

น้อมจิต จันทร์น้อย, นฤมล จันทร์สุข และ รักคณา วิมลมุข. (2563). รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 10(3), 438-456

ศิริพร เผ่าภูธร. (2566). พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลระยะกลางอย่างต่อเนื่องถึงที่บ้าน อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 8 (2), 500-511

ศิริมา พนาดร. (2563). ผลของโปรแกรมการดูแลผูปวยระยะกลางและญาติผูดูแลระยะเปลี่ยน

ผ่านจากโรงพยาบาลสูบานต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน ภาวะแทรกซอนและความพึงพอใจของผูปวย. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 1(1), 50-62

เขมภัค เจริญสุขศิริ และ สิริพิชญ์ เจริญสุขศิริ. (2560). คุณภาพชีวิตและสุขภาวะด้านสุขภาพและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุไทยในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี. Journal of Associated Medical Sciences. 50(3), 516-524

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

โชติการณ์ ถ., จันทไทย น., ภูวิเลิศ พ., & ภูตรี ท. (2023). การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 804–814. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269773