การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สมทรง พุ่มประเสริฐ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี
  • สุรัตน์ อนันทสุข นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยหลัก 3อ.2ส. ในผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป ในจังหวัดปทุมธานี โดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ทั้งหมด 80 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Pair t – tests, Independent t – tests, One Way Repeated Measures ANOVA วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร ระหว่างกลุ่มตัวอย่างและช่วงเวลาด้วยสถิติ One-way Repeated Measures MANOVA เปรียบเทียบรายคู่โดยวิธี Bonferroni

     ผลการศึกษาพบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างทดลองใช้โปรแกรม 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบและสูงกว่ากลุ่มควบคุมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ : การจัดการความเครียด. นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา

นิคม พุทธา และพลอยประกาย ฉลาดล้น. (2565). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(3), 46-64

ปณตนนท์ เถียรประภากุล และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง.วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(2), 54-66

ปานชีวา ณ หนองคาย. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี.ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ปรีดา สาราลักษณ์ และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 15(2), 1-12.

พิไลพร สุขเจริญ, อรัญญา รักหาบ และกมลชนก ทองเอียด. (2561). วิถีการรับรู้ของผู้สูงอายุ: บทเรียนจากโรงเรียนผู้สูงอายุ1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 11(1), 60–81.

วิมล โรมา, มุกดา สำนวนกลาง, และสายชล คล้อยเอี่ยม. (2561). การสำรวจความรอบรู้ ด้านสุขภาพของประชาชนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 1). รายงานฉบับสมบูรณ์ ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

แสงเดือน กิ่งแก้ว, และนุสรา ประเสริฐศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคามฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43–54.

AHRO. (2011). Health literacy interventions and outcomes: An updated systematic review. Retrieved February 16, 2018, from https://doi.org/AHRQ Pub. No. 11-E006-1

Benner P. (1994). The tradition and skill of interpretive phenomenology in studying health, illness and caring practices, Interpretive phenomenology (P. Benner ed.), Sage, Thousand Oaks, California, pp. 99–127.

Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., & Crotty, K. (2011). Low health literacy and health outcomes: An updated systematic review. Ann Intern Med, 152(2), 97–107.

Chesser A. K., Keene Woods N., Smothers K., Rogers N. (2016). Health literacy and older adults: A systematic review. Gerontology and Geriatric Medicine, 2, 1-13. doi: 10.1177/2333721416630492

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67, 2072–2078.

Paakkari, L., & Okan, O. (2020). COVID-19: health literacy is an underestimated problem. The Lancet. Public health, 5(5), e249–e250. https://doi.org/10.1016/S2468-2667 (20) 30086-4.

Wannasirikul, P., Termsirikulchai, L., Sujirarat, D., Benjakul, S., & Tanasugarn, C. (2016). Health literacy, medication adherence, and blood pressure level among hypertensive older adults treated at primary health care centers. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health, 47(1), 109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

พุ่มประเสริฐ ส. ., & อนันทสุข ส. . (2023). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 1023–1032. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269821