การศึกษาการตรวจวินิจฉัยทางคลินิกของการติดเชื้อช่องพังผืดเทอริโกแมนดิบูลาร์ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อช่อง พังผืดซับแมนดิบูลาร์และมีอาการอ้าปากได้จำกัดร่วมด้วย ในผู้ป่วยของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • อตินาต ธรรมรัชสุนทร โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

การติดเชื้อ, ช่องพังผืดเทอริโกแมนดิบูลาร์, การอ้าปากได้จำกัด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อศึกษาความไว ความจำเพาะ ของการทดสอบการตรวจในช่องปากโดยใช้ด้ามกระจกส่องปากกดบริเวณด้านข้างของคอหอยส่วนปาก ทั้งสองข้าง ในการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อช่องพังผืดเทอริโกแมนดิบูลาร์ของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อช่องพังผืดซับแมนดิบูลาร์ และมีอาการอ้าปากได้จำกัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ด้วยอาการบวมบริเวณช่องพังผืดซับแมนดิบูลาร์ร่วมกับอ้าปากได้จำกัด ระหว่างปี 2555 – 2565 จำนวน 40 คน เครื่องมือเป็นแบบบันทึกข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัย โดยใช้ ความไว  ความจำเพาะ  และค่า ROC

     ผลการวิจัย: พบว่า การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อช่องพังผืดเทอริโกแมนดิบูลาร์โดยใช้ด้ามกระจกส่องปากกดบริเวณด้านข้างของคอหอยส่วนปากทั้งสองข้าง มีค่าความไวร้อยละ 100 ค่าความจำเพาะเจาะจง ร้อยละ 80.95 ค่าความแม่นยำร้อยละ 90 ความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อช่องพังผืดเทอริโกแมนดิบูลาร์ ร้อยละ 82.6 และความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยไม่มีการติดเชื้อช่องพังผืดเทอริโกแมนดิบูลาร์ร้อยละ 100 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง true positive rate กับ false positive rate ในรูปกราฟ ROC มีค่าความไวร้อยละ 100 ค่าความจำเพาะเจาะจงร้อยละ 100 และ พื้นที่ใต้ส่วนโค้ง = 0.905 (95%CI 0.80-1.00, p < .001)

References

พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิระพงษ์ อังคะรา. การอักเสบติดเชื้อของลำคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2564; 62(5):365-74.

พัชรี กัมพลานนท์, สุรชัย อภินวถาวรกุล และ จริญดา ไทยแสงสง่า. ปัจจัยซึ่งมีผลต่อการวินิจฉัยทางคลินิกของการติดเชื้อในช่องพังผืดเทอริโกแมนดิบูลาร์ในผู้ป่วยติดเชื้อจากฟันซึ่งมีอาการกลืนลำบาก. ศัลย์ช่องปาก-แม็กซิลโลเฟเชียล. 2547; 18: 17-24.

Abshirini H, Alavi SM, Rekabi H, Hosseinnejad F, Ghazinpour A, Shabab M. Predisposing factors for the complications of deep neck infections. Iran J Otorhinolaryngol. 2010; 22: 97-102

A Bridgeman , D Wiesenfeld, A Hellyar, W Sheldon. Major maxillofacial infections. An evaluation of 107 cases. Aust Dent J. 1995; 40(5): 281-8.

Goldberg MH, Topazian RG. Odontogenic Infections and Deep Fascial Space Infections of Dental Origin. Management of Infections of the Oral and Maxillofacial Regions, Topazian RG, Goldberg MH (eds). Philadelphia, WB Saunders;1981: 173.

Har-El G, Aroesty JH, Shaha A, Lucente FF. Changing trends in deep neck abscess. A Retrospective study of 110 patients. Oral Surg Oral Med Oral Patho1994;77:446-50.

Heikkinen J, Jokihaka V, Nurminen J, Jussila V, Velhonoja J, Irjala H, Soukka T, Happonen T, Jarnstedt J, Nyman M, Mattila K, Hirvonen J. MRI of odontogenic maxillofacial infections: diagnostic accuracy and reliability.Oral Radiol. 2023; 39(2): 364-371.

K Yonetsu 1, M Izumi, T Nakamura. Deep facial infections of odontogenic origin: CT assessment of pathways of space involvement. AJNR Am J Neuroradiol. 1998 ;19(1):123-8.

Odell P. Infections of the fascial spaces of the neck. J Otolaryngol 1990,19:201-5

Rega AJ, Aziz SR, Ziccardi VB. Microbiology and Antibiotic Sensitivities of Head and Neck Space Infections of Odontogenic Origin. J Oral Maxillofac Surg. 2006; 64:1377-81

Roscoe DL, Hoang L. Microbiologic investigations for head and neck infections. Infect Dis Clin N Am. 2007; 21: 283-304

Schuster GS, Burnett GW: The Microbiology of Oral and Maxillofacial Infections. Management of Infections of the Oral and Maxillofacial Regions, Topacian RG, Goldberg MH (eds), Philadelphia, WB Saunders; 1981: 39.

Storoe W, Haung RH, Ltlich TT. (2001). The changing face of odontogenic infection. J Oral Maxillofac Surg; 59:739-48.

Ullah M, Irshad M, Yaacoub A, Carter E, Thorpe A, Zoellner H, Cox S. Dental Infection Requiring Hospitalisation Is a Public Health Problem in Australia: A Systematic Review Demonstrating an Urgent Need for Published Data. Dent J. 2023; 11(4): 97.

W Yang. Deep neck infection: A review of 130 cases in South China. South China Med. 2015; 94: 89-94.

Williams BL, McCann GF, Schoenknecht FD: Bacteriology of dental abscesses of endodontic origin. J Clin Microbiol 1983; 18:770.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

ธรรมรัชสุนทร อ. (2023). การศึกษาการตรวจวินิจฉัยทางคลินิกของการติดเชื้อช่องพังผืดเทอริโกแมนดิบูลาร์ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อช่อง พังผืดซับแมนดิบูลาร์และมีอาการอ้าปากได้จำกัดร่วมด้วย ในผู้ป่วยของโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 1009–1014. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269835