การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านยาในกลุ่มโรคสำคัญ โรงพยาบาลสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา วรสาร โรงพยาบาลสามชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, ค่าใช้จ่ายด้านยา, กลุ่มโรคสำคัญ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนค่ายาของผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในกลุ่มโรคสำคัญที่มีต้นทุนค่ายาสูง เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยทำการศึกษาย้อนหลัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 - 2566 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยทุกสิทธิ์การรักษาที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
      ผลการวิจัย พบว่า ต้นทุนค่ายารวมในการให้บริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจาก 4,995,360.27 บาท เป็น 7,097,684.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.09 โดยจำนวนผู้รับบริการเพิ่มขึ้นจาก 38,546 ครั้ง เป็น 41,840 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 8.56 ต้นทุนค่ายาต่อครั้งเพิ่มขึ้นจาก 129.59 บาท เป็น 169.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 30.90 กลุ่มโรคที่มีจำนวนครั้งมารับบริการสูง 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคคอหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน กลุ่มโรคที่มีต้นทุนค่ายาสูง ได้แก่ โรคเบาหวาน ต้นทุนค่ายา 2,138,634.97 บาท (ร้อยละ 30.13) เท่ากับ 285.68 บาทต่อครั้ง, โรคความดันโลหิตสูง ต้นทุนค่ายา 793,794.64 บาท (ร้อยละ 11.18) เท่ากับ 203.28 บาทต่อครั้ง และโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังต้นทุนค่ายา 587,219.86 บาท (ร้อยละ 8.27) เท่ากับ 428.94 บาทต่อครั้ง ลักษณะกลุ่มโรคที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายยาและจำนวนครั้งในการรับบริการสูง คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยยาที่มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาสูงขึ้น คือ กลุ่มยาเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นยาที่มีต้นทุนค่ายาสูง การเพิ่มจำนวนของผู้ป่วย และการมีภาวะแทรกซ้อนของโรคที่มากขึ้นในกลุ่มโรคที่มีการใช้ยาเฉพาะโรคที่ต้นทุนค่ายาสูง ซึ่งมีผลต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านยา

References

สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย ส่วนงานมาตรฐานและการบริการสารสนเทศระบบบริการสาธารณสุขสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.ผลการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรค ระยะที่ 1 ปีที่ 3. (2563).

อาทร ริ้วไพบูลย์. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล Unit Cost Analysis of Hospital Medical Services. สืบค้นจาก http://irem.ddc.moph.go.th/uploads/tiny/research/course/HTA/ Cost%20Evaluation%20Workshop/5%20Cost-Hospital-District-22Nov16.pdf

อรพรรณ ศฤงคาร. ต้นทุนต่อวันนอนในการให้บริการการดูแลระยะกลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5451

มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. การบริหารทรัพยากรสุขภาพด้านยา. สืบค้นจากhttp://phared.org/home/index.php?option=com_content&view=article&id=5&catid=32&Itemid=112&lang=th

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2563). ระบบยาของประเทศไทย 2563 (Thai Drug System 2020).กรุงเทพ.

เพียงฤทัย มงคลชาติ (2542). ต้นทุนค่ายาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์. การค้นคว้าอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทภรณ์ โสมอินทร์. (2566). การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านยาในกลุ่มโรคสำคัญ โรงพยาบาลหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิทยาการสิ่งแวดล้อมไทย ปีที่ 6 (1) (2566) :206-215

ธีรยุทธ พิลาดี และคณะ. (2018). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อสิทธิรักษาพยาบาล และต้นทุนรายโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีศึกษาโรงพยาบาลพระทองคำเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE. Vol.12 No.1 January-April 2018, 192-204.

สุชาติ และคณะ (2563). ต้นทุนค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลท่าสองยาง จังหวัดตาก. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2563 : 175-188.

กันยารัตน์ แสนสันเทียะ และอุษณา แจ้งคล้อย. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อสิทธิรักษาพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ ปีที่ 3 (1) (2559) : 83-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29