กรณีศึกษา : การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในโรงพยาบาลสามชัย ปี พ.ศ.2566

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ บุษบง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา 2 ราย เพื่อเปรียบเทียบการดูแลรักษาและกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในโรงพยาบาลสามชัย ปี พ.ศ.2566 และนำผลการศึกษาไปปรับใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นและพัฒนาแนวทางการให้บริการภายในแผนกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานต่อไป
     ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษารายที่ 1 ชายไทย อายุ 36 ปี เป็นเบาหวานมา 5 ปี มารับยาหลังนัด ไม่ขาดยา ผู้ป่วยรายที่ 2 หญิงไทย อายุ 59 ปี เป็นเบาหวานมา 10 ปี มารับยาตามนัด กรณีศึกษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย พบปัญหาทางการพยาบาลที่เหมือนกัน คือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จาก 1) พฤติกรรมการดูแลตนเอง เช่น การรับประทานอาหาร 2) ไม่ออกกำลังกาย 3)การรับรู้ตนเองและอัตมโนทัศน์ มีความรู้เรื่องเบาหวานแต่ขาดความตระหนักควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนปัญหาที่ต่างกัน ได้แก่ 1) การรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง 2) ปัญหาเศรษฐกิจ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการให้การพยาบาลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย คือ รูปแบบการให้บริการที่รวมแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้การใช้รูปแบบการลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบรายกรณีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อม ไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์กระทรวง สาธารณสุข,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

เฉลาศรีเสงี่ยม .การพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยเบาหวาน. ในศิริอรสินธุ,พิเชตวงรอต, บรรณาธิการ. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วัฒนาการพิมพ์; 2558 : 46-9.

จตุภูมิ นีละศร และอรพิมล ธนภูวนนท. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 โรงพยาบาลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4), 714-728.

ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 515-522.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2563). พฤติกรรมสุขภาพ : แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สํานักพิมพ์/มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชานนท์เชาวะรรมรงสกุล. การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสีดา ว.ศูนย์อนามัยที่ 9 2563;9(14):314–329.

สุนิสา คำประสิทธิ์. ผลการพัฒนาศักยภาพครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2โดยใช้กระบวนการพยาบาลครอบครัวและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. ว.ชัยภูมิเวชสาร 2561 ; 38(3) : 39–49.

ไกรพิชิต ปรุงฆ้อง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร.ว. โรงพยาบาลสกลนคร2563 ; 23(3) :14–26.

ธีรศักดิ์ พาจันทร์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 ,285-298

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29