กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เริ่มต้นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จากของเสียคั่งในเลือดสูง

ผู้แต่ง

  • พิกุล ศรีโยวงค์ โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ของเสียคั่งในเลือดสูง

บทคัดย่อ

     โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end-stage-renal-disease: ESRD) ที่ยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ส่วนใหญ่จะมีอาการของเสียคั่ง จนเกิดภาวะทางสมอง ที่รียกว่า Uremic encephalopathy รวมทั้งอาการของความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป รูปแบบการนอนหลับที่ผิดปกติ tremor, asterixis และแม้กระทั่งอาการโคม่าและเสียชีวิต เมื่อเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต ซึ่งการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่ผู้ป่วยเลือกมากที่สุดในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตดี และประคับประคองชีวิตผู้ป่วยได้นานที่สุด

     การให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย จำเป็นต้องมีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยภายใต้การควบคุมปัจจัยหลาย ๆ ด้านเพื่อป้องกัน แก้ไข ภาวะแทรกซ้อนจากการเริ่มต้นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รวมถึงการดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วยในขณะและหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รวมถึงการวางแผนจำหน่าย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลฟอกเลือดต่อเนื่องตามมาตรฐาน และสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงได้นำเสนอกรณีศึกษา 2 ราย ในการดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เริ่มต้นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจากของเสียคั่งในเลือดสูง ที่มารับบริการที่หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่การให้ข้อมูล การเตรียมผู้ป่วย ในระยะก่อนการฟอกเลือด การติดตาม การเฝ้าระวังความเสี่ยง การป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนในขณะและหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ เวชระเบียนและสถิติของโรงพยาบาล ใช้เครื่องมือการบันทึกการพยาบาล กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลของนันดา ในการนำความต้องการหรือปัญหาทางสุขภาพของผู้รับบริการ (Client’s needs or problems) มาเขียนเป็นข้อวินิจฉัยการพยาบาลทางคลินิกเกี่ยวกับ บุคคล ครอบครัวหรือชุมชนที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพ ใช้กรอบแนวคิดแบบ ประเมินสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน มาใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพ และใช้ทฤษฎีการ พยาบาลตามกรอบแนวคิดของโอเร็ม มาประยุกต์ใช้ในการผู้แลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยที่มารับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ให้ได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

References

Lim, A. K. (2014). Diabetic nephropathy–complications and treatment. International journal of nephrology and renovascular disease, 361-381.

สมาคมโรคไตแหงประเทศไทย. (2563). ข้อมูลการบําบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2562 [ซีดีรอม].กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมาธิการการลงทะเบียนการบําบัดทดแทนไตในประเทศไทย.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2561). คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต พ.ศ. 2561. กรุงเทพ, 2561.

Buyadaa O, Magliano DJ, Salim A, Koye DN, Shaw JE. (2020). Risk of Rapid Kidney Function Decline, All-Cause Mortality, and Major Cardiovascular Events in Non albumin uric chronic kidney disease in Type 2 Diabetes. Diabetes Care. 43(1):122-9.

National Kidney Disease. (2012): K/DOOI. Clinical practices guideline for chronic kid-ney disease: evaluation, classification and stratification. Kindney/Dialysis Outcome Qu-ality Initiation. American Journal Kidney Dise-ase, 39(2supply1) : S1-S266.

บัญชา สถิระพจน์และคณะ. (2560). Manual of Nephrology. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: นำอักษรการพิมพ์.

สมจิตร หนุเจริญกุล. (2552). การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี เจ พริ้นติ้ง.

วิจิตรา กุสุมภ์. (2562). กระบวนการพยาบาลและข้อวินิจฉัยการพยาบาล : การนำไปใช้ในคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์.

สุทธิ์ กตเวทิน, กฤษณพงศ์ มโนธรรม, และสมชาย เอี่ยมอ่อง, (2557). โรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน. ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง, สมจิตร์ เอี่ยมอ่อง, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, ขจร ตีรณธนากุล, เกรียง ตั้งสง่า และวิศิษฏ์ สิตปรีชา (บรรณาธิการ), TEXBOOK OF NEPHROLOGY (หน้า 1321-1352). กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนซ์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

ชัชวาล วงค์สารี, และ อรนันท์ หาญยุทธ. (2557). การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารพยาบาลตำรวจ. 6(2), 220-233.

Lee SJ, Chung CW. (2014). Health Behaviors and Risk Factors Associated with Chronic Kidney Disease in Korean Patients with Diabetes: The Fourth Korean National Health and Nutritional Examination Survey. Asian Nurs Res; 8(1): 8-14

ชวนพิศ วงศ์สามัญ. (2552). การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 13. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

Bello AK, Levin A, Tonelli M, Okpechi IG, Feehally J, Harris D, et al. (2017). Assessment of global kidney health care status. JAMA; 317(18): 1864–81.

วิจิตรา กุสุมภ์. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์.

ปราณี ทู้ไพเราะ. (2554). คู่มือยา Hand book of drugs. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : NP Press Limited Partnership.

มาโนช หล่อตระกูล. แบบสอบภาม Hospital anxiety and depression. สืบค้นจาก https://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/v4112.html เข้าถึงวันที่ 1 กันยายน 2566

บัญชา สถิระพจน์ (2563). บทความฟื้นวิชา Diabetic Nephropathy: Diagnosis and Therapeutic Targets. เวชสารแพทย์ทหารบก ปีที่ 73 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ศรีโยวงค์ พ. (2023). กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เริ่มต้นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จากของเสียคั่งในเลือดสูง. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 946–955. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269930