การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, รูปแบบการดูแลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้รูปแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 190 คน 2) บุคคลในครอบครัวผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 95 คน 3) ผู้นำชุมชน จำนวน 35 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และเครื่องมือตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarkers) ได้แก่ การตรวจระดับฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1c: HbA1c) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของ HbA1c ใช้สถิติทดสอบ paired Samples t-testและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการนำรูปแบบมาใช้ ระดับ HbA1c ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลงมากกว่าก่อนนำรูปแบบมาใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ภายหลังการนำรูปแบบมาใช้ ครอบครัวและชุมชน มีระดับการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ในระดับมาก
References
กานต์ชนก สุทธิผล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 5(2), 1-12.
ขวัญรัตน์ บัววิชัยศิลป์, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยวและอรุณ บุญสร้าง. (2563). กระบวนการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนาโปใหญ่ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(03), 49-49.
จิราภรณ์ อุ่นเสียม. (2559). พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เขตสุขภาพที่ 11. วารสารวิชาการแพทย์, 30(4), 261-268.
จิรพรรณ ผิวนวล และประทุม เนตรินทร์. (2561). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต้าบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 1(2), 46-61.
นัยนา เดชะ. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนในตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พิรุณี สัพโส. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. วารสารสานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 5(1), 169-183.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, ธมลวรรณ แก้วกระจก,วรรณรัตน์ จงเขตกิจ, ปิยะพร พรหมแก้ว, ดาลิมา สําาแดงสาร และดลปภัฎ ทรงเลิศ. (2561). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา สุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 231–238.
วรรณี นิธิยานันท์. (2535). การรักษาโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
อมรรัตน์ สุขเลิศ, จินตนา จุลทัศน์, และ สุภาพร ใจการุณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 10. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(1), 92-99.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์ ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า และสุธิดา แก้วทา. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 2562. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. E. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal Education and Psychological Measurement, 30(3), 608-609.
Miller, T. A., & DiMatteo, M. R. (2013). Importance of family/social support and impacton adherence to diabetic therapy. Diabetes, metabolic syndrome and obesity: targets and therapy, 6, 421-426.
World Health Organization. (1985). Diabetes Mellitus: Report of a WHO Study Group. Geneva, World Health Org.