การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวจากการติดเชื้อรุนแรงของเยื่อหุ้มคอชั้นลึกโพรงใต้คาง กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ยุภาพร ศรีภา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะหายใจล้มเหลวจากการติดเชื้อรุนแรงของเยื่อหุ้มคอชั้นลึกโพรงใต้คาง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษากรณีศึกษาเปรียบเทียบจำนวน 2 ราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวจากการติดเชื้อรุนแรงของเยื่อหุ้มคอชั้นลึกโพรงใต้คาง ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
     ผลการศึกษา : กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นมีสาเหตุการติดเชื้อ จากฟันผุ ทั้ง 2ราย แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รายที่ 1 ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน มีอาการอักเสบระยะเวลาหลายวัน ที่เป็นปัจจัยส่งผลให้การเกิดความรุนแรงของโรคโดยกรณีศึกษาที่ 1 ทำให้มีพยาธิสภาพการติดเชื้อได้ง่ายประกอบกับ สูบบุหรี่  ในขณะที่กรณีศึกษาที่ 2 ไม่มี มีโรคประจำตัว แต่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปริมาณมากถึง20 มวน/วัน  ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มาโรงพยาบาลด้วยอาการหอบเหนื่อยรายแรก มีไข้สูง รายที่2 ไม่มีไข้ และยาปฏิชีวนะรายที่1ได้รับยา Augmentin 1.2 กรัมฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง ได้รับยาปฏิชีวนะClindamycin600 มิลลิกรัม ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง  รายที่ 2ได้รับยา Augmentin 1.2 กรัมฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง  ได้รับการช่วยหายใจฉุกเฉินด้วยวิธีแบบAwake tracheal stylet Video laryngoscopeประเมิน ทางเดินหายใจผ่านVideo laryngoscope ผ่านการพ่นยาชาในช่องปาก LA 10% lidocaine  spayโดยทีมวิสัญญีและศัลยแพทย์ หู คอ จมูก ที่ห้องฉุกเฉิน ทั้ง 2ราย ตามหลัก FASTHUG and BANDAIDS

References

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2561

ชวน ชีพเจริญรัตน์. (2560). ลักษณะการติดเชื้อลำคอส่วนลึกและการเสียชีวิตในโรงพยาบาลประชานุเคราะห์. วารสาร หู คอ จมูก และใบหน้า, 18(1):44-55

ชลวิทย์ วงศ์ไพโรจนพานิช. การติดเชื้อรุนแรงในบริเวณขากรรไกรและใบหน้า ภาวะ Ludwig’s Angina.วารสารโรงพยาบาลพิจิตร. 2562; 34(1):136-140.

ทนันชัย บุญบูรพงศ์. (2553). การบําบัดระบบหายใจในเวชปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หจก. บ้านหนังสือโกสินทร์.

ปราณี ทู้ไพเราะ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจากความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนและ ขนส่งออกซิเจน. ใน

พรอรุณ สิริโชติวิทยากร. (2552). หลักการดูแลผู้ป่วย Difficult Airway. ตําราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญี วิทยา. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์

เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา และพรรณิภา สืบสุข. การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ. ใน ปราณี ทู้ไพเราะ และคณะ ,บรรณาธิการ. การ พยาบาลอายุรศาสตร์ 2. กรุงเทพฯ:หจก. เอ็นพีเพรส; 2555:44-59.

เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์. ผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่ม อาการ Sepsis. ว.พยาบาลศาสตร์ 2554;29(2):102-110

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. แนวทางการปฏิบัติเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะใส่ ท่อช่วยหายใจหรือใส่ท่อช่วยหายใจยาก(difficult airway management

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2562). รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปี. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.

วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผันแปรของออกซิเจน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช; 2556: 80-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29