การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีโรคร่วมและได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ยุพิน พิมพ์สวัสดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีโรคร่วม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 รายโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจงผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกและมีโรคร่วม ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์หญิง และหอผู้ป่วยศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ชาย โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ข้อมูลจากการพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน ตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
     ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 รายเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวร่วม  ผู้ป่วยรายที่ 1 ชายไทยอายุ 60 ปี มีโรคประจำตัวร่วม ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง และมีภาวะแทรกซ้อนคือ ภาวะโปแตสเซี่ยมในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงการผ่าตัด ได้รับแก้ไข,เตรียมการผ่าตัดและปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ได้รับการประเมินจากอายุรแพทย์และวิสัญญีแพทย์ก่อนผ่าตัด ได้รับการผ่าตัดตามกำหนดเวลาที่กำหนด หลังผ่าตัดผู้ป่วยปลอดภัยดี ผู้ป่วยรายที่ 2 หญิงไทยอายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวร่วม ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมได้ดี แต่มีโรคแทรกซ้อนก่อนผ่าตัดได้แก่ ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้รับการประเมินและร่วมรักษาจากอายุรแพทย์ จนปลอดภัยจึงได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม หลังผ่าตัดผู้ป่วยปลอดภัยดี

References

ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย. ปัจจัยเสี่ยงการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลเลิศสิน.วารสารกรมการแพทย์.2561

กุลพัชร จุลสำลี. (2562). หลักการพื้นฐานในกระดูกและข้อเลื่อนหลุด. ในพงศธร ฉันท์พลากร บรรณาธิการและคณะ. หนังสือตำราการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพ: บริษัท ทรัส อัส จำกัด.

กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. (2564-2566). รายงานสถิติประจำปี. ขอนแก่น: โรงพยาบาลสิรินธร

จิณพิชญ์ชา มะมม. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ. พิมพ์ครั้งที่ 2 ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง และณัฐมา ทองธีรธรรม. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพมหานคร: เอ็นพีเพรส

บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ และคณะ. (2556). การตรวจร่างกายทางออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พรสินี เต็งพานิชกุล. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดข้อสะโพกเทียม. ใน อรพรรณ โตสิงห์, พรสินี เต็งพานิชกุล, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, ณัฐมา ทองธีรธรรม (บรรณาธิการ),การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์.กรุงเทพมหานคร: เอ็นพีเพรส

ศิริรัตน์ ปานอุทัย. (2561). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมและมีโรคร่วม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี.

สุภาวดี เลิศสำราญ. (2566). Nursing Theory:Orem’s Self-Care Deficit Theory. สืบค้น 2 มิถุนายน 2566. จาก http://www.elnurse.ssru.ac.th

Peeters C M M, Visser E, Van de Ree C L P, Gosens T, Oudsten BLD, Vries JD.Quality of life after hip fracture in the elderly : A systemic literature review. International Journal of The Care of the Injury. 2016

ยศ เขียวอมร. อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกับอัตราตายปีแรกของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ผ่าตัดในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช.วารสารกรมการแพทย์เขต 4-5.2564

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29