การตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์และเอกลักษณ์ทางเคมีของเครื่องดื่มนมกระชาย

ผู้แต่ง

  • ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ อาจารย์ วิทยาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วนิษา ปันฟ้า อาจารย์ วิทยาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดวงนภา แดนบุญจันทร์ อาจารย์ วิทยาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุวศิน พลนรัตน์ อาจารย์ วิทยาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นวรัตน์ วิริยะเขษม อาจารย์ วิทยาการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย Corresoponding author

คำสำคัญ:

การตรวจสอบคุณภาพ, จุลินทรีย์, เอกลักษณ์ทางเคมี, นมถั่วเหลืองกระชาย

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์และเอกลักษณ์ทางเคมีของเครื่องดื่มนมกระชาย โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ของตัวอย่าง 3 กลุ่มที่เป็นองค์ประกอบของเครื่องดื่มนมกระชาย ประกอบด้วยน้ำต้มกระชายขาว นมถั่วเหลือง และเครื่องดื่มนมกระชายที่เก็บรักษาไว้ที่ตู้แช่เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสในวันที่ 1, 7 และ  14 ของวันที่เตรียมตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เมื่อตรวจสอบการปนเปื้อนในวันแรกของการเตรียมเครื่องดื่มนมกระชายเปรียบเทียบกับวันที่ 7 และ 14 ของการเก็บรักษาในตู้เย็น ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อราและยีสต์, Clostridium spp., Escherichia coli, Salmonella spp. และ Staphylococcus aureus แต่เมื่อเก็บรักษาตัวอย่างต่อไปอีก 2 วันในตู้เย็น มีเพียงน้ำต้มกระชายขาวที่ยังปราศจากการปนเปื้อน ในขณะที่นมถั่วเหลืองและเครื่องดื่มนมกระชายปนเปื้อนเชื้อราและยีสต์ Escherichia coli และ Salmonella spp. แสดงว่ามาตรฐานของการเก็บรักษาและคงคุณภาพของเครื่องดื่มนมกระชายคือไม่เกิน 14 วันในตู้แช่เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ได้ตรวจสอบเอกลักษณ์ทางเคมีด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีชั้นบางสมรรถนะสูงของตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มที่วันที่ 1 และ 14 ของวันที่เตรียมตัวอย่าง พบการแยกสารของนมถั่วเหลืองและนมกระชายมีค่า Rf ใกล้เคียงกันเมื่อตรวจสอบภายใต้แสงยูวี 366 นาโนเมตร และพบการแยกสารของน้ำต้มกระชายเมื่อตรวจสอบภายใต้แสงยูวี 254 นาโนเมตร ซึ่งแต่ละชนิดมีรูปแบบการแยกและค่า Rf ที่ใกล้เคียงกัน งานวิจัยนี้แสดงโอกาสพัฒนามาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร

References

Kanjanasirirat P, Suksatu A, Manopwisedjaroen S, Munyoo B, Tuchinda P, Jearawuttanakul, K. et al. High-content screening of Thai medicinal plants reveals Boesenbergia rotunda extract and its component Panduratin A as anti-SARS-CoV-2 agents. Scientific Reports. 2020;10:19963.

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. กระชาย. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อ 14 ม.ค. 67]. เข้าถึงจาก: http://www.thaicrudedrug.com/

ปริตา ธนสุกาญจน์, ณัฐกานต์ นามมะกุนา, ปุณฑริกา รัตนตรัยวงศ์ และศจี สุวรรณศรี. การพัฒนาเครื่องดื่มกระชายผสมน้ำผลไม้. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 14 ม.ค. 67]; 4(1): 28-38. เข้าถึงจาก: https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/301/308

จินต์จุฑา ซื่อชวกรกุล. การศึกษาความต้องการของผู้บริโภคและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่วีแกนแคลอรี่ต่ำเสริมภูมิคุ้มกันจากกระชายขาว. [ม.ป.ท.]: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564.

Saravacos, G. and Kostaropoulos, A.E. Thermal Processing Equipment. Handbook of Food Processing Equipment. Food Engineering Series. Springer, Cham. [Internet]. 2016. [cited 2024 Feb 19]. Available from: https://doi.org/10.1007/978-3-319-25020-5_10

Saravacos, G. and Kostaropoulos, A.E. Refrigeration and Freezing Equipment. Handbook of Food Processing Equipment. Food Engineering Series. Springer, Cham. [Internet]. 2016. [cited 2024 Feb 19]. Available from: https://doi.org/10.1007/978-3-319-25020-5_9

สภาการแพทย์แผนไทย. ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง การใช้สมุนไพรกระชายเป็นเครื่องดื่ม. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 19 ก.พ. 67]. เข้าถึงจาก: https://thaimed.or.th/wp-content/uploads/2021/05/thaimed_6_5_64.pdf

สุธิดา อัครชนียากร, ศิริกุล นิธิธนาธร และสิริกร ลิขิตวนิชกุล. ผลของวิธีการเตรียมถั่วเหลืองต่อสมบัติทางเคมีกายภาพและประสาทสัมผัสของน้ำนมถั่วเหลือง และผลของอุณหภูมิอบแห้งและปริมาณมอลโตเด็กซ์ตรินต่อคุณภาพของนมถั่วเหลืองผงด้วยวิธีอบแห้งแบบพ่นฝอย. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์ [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 19 ก.พ. 67]; 20(1): 137-153. เข้าถึงจาก: https://thaiscience.info/Journals/Article/JASC/10995432.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน ค่าความบริสุทธิ์ หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสำคัญต่อคุณภาพสำหรับตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียน แจ้งรายละเอียด หรือจดแจ้ง พ.ศ. 2564; 2564.

ยุทธนา วรวุธ, ภูษิต แสงประดับ. การพัฒนาระบบตรวจสอบสารอาหารในอาหารไทยโดยเทคนิคโครมาโทรกราฟีแบบแผ่นบางประสิทธิภาพสูง. [ม.ป.ท.]: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์; 2558.

Zainin NSM, Lau KY, Zakaria M, Son R, Razis AFA, Rukayadi Y. Antibacterial activity of Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. A. extract against Escherichia coli. International food research journal. 2013;20(6):3319-23.

Zakuan Z, Mustapa S.A., Sukor R., Rukayadi, Y. Antifungal activity of Boesenbergia rotunda (temukunci) extract against filamentous spoilage fungi from vegetables. International Food Research Journal. 2018; 25(1): 433-438.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, อุทัย โสธนะพันธุ์, ประไพ วงศ์สินมั่นคง. ทีแอลซี: วิธีอย่างง่ายในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องยา. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2551.

de Andrade FI, Florindo Guedes MI, Pinto Vieira ÍG, Pereira Mendes FN, Salmito Rodrigues PA, Costa Maia CS, Marques Ávila MM, de Matos Ribeiro L. Determination of synthetic food dyes in commercial soft drinks by TLC and ion-pair HPLC. Food Chemistry. 2014; 157: 193-198.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29