การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะหมดสติโดยใช้ระบบทางด่วน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • จรรยาภรณ์ สิงห์สระน้อย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลปากช่องนานา

คำสำคัญ:

รคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน, ภาวะหมดสติ, ยาละลายลิ่มเลือด, ระบบทางด่วน

บทคัดย่อ

     กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะหมดสติและเข้ารับการรักษาในระบบทางด่วนเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทันเวลา โดยศึกษาจากการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเอกสารเวชระเบียนของผู้ป่วย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง 1 ราย จากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่มาโรงพยาบาลนอกเวลาราชการมาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงเรียกเมื่อวันที่ 24ตุลาคม 2566 เวลา 20.31น. ผู้ป่วยเพศชายอายุ 54 ปี เข้ารับการรักษาด้วยอาการชักเกร็งตากระตุกตาค้างน้ำลายฟูมปาก อาเจียน และมีแขนขาข้างขวาอ่อนแรง เริ่มมีอาการเวลา 20.00 น. ภรรยาโทรแจ้ง 1669 และรถฉุกเฉินโรงพยาบาลปากช่องนานาออกรับได้ให้การรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล มีการประเมินอาการเบื้องต้นและประสานกลับมาห้องฉุกเฉินว่าเข้าเกณฑ์โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เมื่อถึงโรงพยาบาลแพทย์ตรวจประเมินคะแนนโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันได้ 18 คะแนนประเมินทางระบบประสาทผู้ป่วยไม่ลืมตา ไม่พูด แขนขาขวาอ่อนแรงไม่มีการเคลื่อนไหว แขนขาซ้ายยกได้ต้านแรงได้เล็กน้อยและมีภาวะตัวเขียว แพทย์พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจและส่งตรวจวินิจฉัยด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบว่ามีเนื้อสมองตายเฉียบพลัน และปรึกษาอายุรแพทย์ระบบประสาททางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้มีการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดที่ห้องฉุกเฉิน ปัญหาทางการพยาบาลในระยะวิกฤต1). เนื้อเยื่อสมองได้รับออกซิเจนไม่พอจากการไหลเวียนของเลือดในสมองลดลง 2).เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากได้รับยาละลายลิ่มเลือด 3).ญาติวิตกกังวลจากโรคที่เจ็บป่วย หลังจากให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่วางไว้ ผู้ป่วยลืมตาเมื่อเรียก ไม่ทำตามคำบอก แขนขาขวาเคลื่อนไหวได้ระดับ5 แขนขาซ้ายยกต้านแรงได้ การหายใจสัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ ไม่มีภาวะตัวเขียว ไม่มีภาวะเลือดออกตามร่างกาย และให้การพยาบาลขณะเคลื่อนย้ายเข้ารักษาที่หอผู้ป่วยหนักอายุกรรม โรงพยาบาลปากช่องนานา

References

กำพล ศรีวัฒนกุล.คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์.พิมพ์ครั้งที่ 6.ปทุมธานี:สกายบุ๊กส์;2551.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงาธารณสุข.รายงานตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2556,นนทบุรี,2556.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา. เภสัชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4 . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2555.

ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร.โครงการร้อยแก่นสารสิทธุ์. ศูนย์ประสานงานรับ ส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.คู่มือการใช้ยาละลายลิ่มเลือดในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.

ตวงทิพย์ บินไทยสงค์.การนำผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันส่งโรงพยาบาล.วารสารพยาบาลตำรวจ๒๕๕๗; ๒:๒๒๖-๒๘๑

ทฤษฎีต่างๆทางการพยาบาล-it256_5620810009-Google Sites[อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ/20 พฤศจิกายน 2560].เข้าได้ จาก:citedhttps://sites.google.com>site>thvsdi-tan.

ธิดารัตน์ พันธุเวทย์และหทัยชนก ไชยวรรณ.สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.๒๕๕๘ ประเด็นรณรงค์วันหัวใจโลกปีพ.ศ.๒๕๕๘.เอกสารอัดสำเนา.

นลินี พสุคันธภัค,สายสมร บริสุทธิ์และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล,บรรณาธิการ.สถาบันประสาทวิทยา.แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาล (ฉบับสมบูรณ์ 2558) กรุงเทพมหานคร:ธนาเพรส,2559

แบบประเมินคะแนนโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: National Institutes of Health Stroke Scale, NIH Stroke Scale, NIHSS)

ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. ๒๕๕๙.กรุงเทพมหานคร:เอ-พลัส พริ้น

พรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล.โรคหลอดเลือดสมอง.[แหล่งสืบค้น] file:///C:/Users/user/Downloads/stroke.pdf[10 ตุลาคม 2560]

ศิริอร สินธุ และพิเชต วงรอด, บรรณาธิการ.การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดัน โลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย,2557.

ศูนย์สมองและระบบประสาทโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่น,โรคหลอดเลือดสมองไม่ว่าวัยใดก็เป็นได้:2565.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน,สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน(ระดับโลกและประเทศไทย).กรุงเทพฯ,2565

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.(2558).แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส้าหรับพยาบาลทั่วไป.

สมศักดิ์ เทียมเก่า และคณะ,บรรณาธิการ. คู่มือการจัดการระบบบริการโรคหลอดเลือดสมองแบบ ครบวงจร. (ม.ป.ท.) 2555

สุรพันธ์ สิทธิสุข.สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์,2555 .แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation(AF)ในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร:ศรีเมืองการพิมพ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

สิงห์สระน้อย จ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันที่มีภาวะหมดสติโดยใช้ระบบทางด่วน : กรณีศึกษา. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 581–586. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/270576