ผลลัพธ์โปรแกรมการประคบแผนไทยและการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อระดับความปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา ต้นสวรรค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลกุด
  • อรอุมา แก้วเกิด มหาวิทยาลัยนครพนม
  • นันทยา นนเลาพล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลกุด

คำสำคัญ:

โปรแกรมการประคบแผนไทย, สมรรถนะแห่งตน, ปวดข้อเข่า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลลัพธ์โปรแกรมการประคบแผนไทยและการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อระดับความปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยผู้สูงอายุผู้สูงอายุตอนต้น อายุ 60-69 ปี กลุ่มควบคุม 35 คน และกลุ่มทดลอง 35 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ส่วน 1) โปรแกรมการประคบแผนไทยและการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อระดับความปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้การประคบแผนไทย แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนของเบนดูรา ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .74, .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Dependent t-test และ Independent t-test
     ผลการวิจัย หลังทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ และสมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=17.16, p =.000 และ t=8.97, p=.000) ส่วนคะแนนเฉลี่ยระดับความปวดข้อเข่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (t=0.76, p=0.45)

References

พระปลัดวีระชนม์ เขมวิโร, ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, ทิพย์ ขันแก้ว, โฆษิต คุ้มทั่ว, สงวนหล้า โพนทัน .การเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสันติปริทรรศน์ 2017;5(1):78-88.

Payogo PS, Sudsukh U. (2015). Buddhist Integration of Caring For Chronic Disease in ThaiSociety. Journal of MCU Peace Studies 2015;3(2):45-64.

Snoddon J. Case management of long-term conditions: principles and practice for nurse. Massachusetts: Blackwell. 2010.

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม [Internet]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2559 ตุลาคม 2]. เข้าถึงได้จาก.http://www.thairheumatology.org/wpcontent/uploads/2016/08/Guideline-for-Management-of-OA-knee.pdf

รังสิยา นารินทร์, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์, วราภรณ์ บุญเชียง. การพัฒนาโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารพยาบาล. 2558;42(3):170-181.

Bandura A, Freeman WH, Lightsey R. Self-Efficacy: The Exercise of Control. Journal of Cognitive Psychotherapy. 1997;13(2):158-166.

Faul F, Erdfelder E, Lang A-G, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007;39(2):175-91.

โชติกา สาระปัญญา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่าต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

Hair, F. J., Black, C.W., Babin, J. B. & Anderson, E.R. Multivariate Data Analysis. 7th ed. New Jersey; 2010.

ณรงค์วิชญ์ คำรังษี, สมชาย จาดศรี. ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(2):97-110.

พยอม สุวรรณ. ผลของการประคบร้อนด้วยสมุนไพรต่ออาการปวดข้อ ข้อฝืด และความลำบากใน การทำกิจกรรมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.

สุภาณี แสงกระจ่าง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนักและภาวะสุขภาพในผู้เป็นข้อเข่าเสื่อม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2557;33(3):101-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29