ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลออดเพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจำหน่ายและการติดตามหลังคลอดในโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา พงษ์ศิริรักษ์ นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย Corresponding author
  • นฤมล สินสุพรรณ รองศาสตราจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองศาสตราจารย์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและการจัดการสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

คำสำคัญ:

โปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเอง, ความพร้อมก่อนการจำหน่าย, การติดตามหลังคลอด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลอดเพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจำหน่ายและการติดตามหลังคลอดในโรงพยาบาลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือมารดาครรภ์แรกที่คลอดบุตรทางช่องคลอดและผ่าตัดคลอดที่เข้ามารับบริการในหอผู้ป่วยหลังคลอดช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2566 จำนวนทั้งหมด 62 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ31 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงหลังคลอด แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอด แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด แบบประเมินความพร้อมในการจําหน่ายจากโรงพยาบาลฉบับมารดาหลังคลอด แบบประเมินความพึงพอใจของมารดาครรภ์แรกหลังคลอดต่อโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, Paired t-test, Independent t-test
     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลอดเพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพร้อมก่อนการจำหน่ายสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพร้อมก่อนการจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.002) และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลอดเพื่อให้มีความพร้อมก่อนการจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพร้อมก่อนการจำหน่ายสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.001) และมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมอยู่ระดับมาก(gif.latex?\bar{X}=4.45,S.D.=0.50)

References

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังมารดาตายสำหรับประเทศไทย.(2565) สืบค้นจาก https://hp.anamai.moph.go.th/web-opload.

ปรียกมล ไกรกิจราษฎร์,กรรณิการ์ กันธะรักษา, เสาวนีย์ เหลี่ยมไตรรัตน์,บุษกร จันทร์จรมานิตย์. ปัจจัยทำนาย ความพร้อมสำหรับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของมารดาหลังคลอด.พยาบาลสาร2563;1:13-24

โรงพยาบาลบ้านไผ่.สถิติการคลอด เวชระเบียนการคลอด โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นประจำปี 2565-2566.

จินตนา ศรีสุพพัตพงษ์.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงหลังคลอดในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยศิลปากร;2550

Weiss M, Piacentine LB. Psychometric properties of the readiness for hospital discharge scale. Journal of Nursing Measurement. 2007;3:163-180.

Orem, E. Dorothea. Nursing Concepts of practice.5thed .St.Louis .Mosby Year Book;2001.

ศิริวดี ชุ่มจิต. ศึกษาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาครรภ์แรกหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. รายงานวิจัย; 2563.

ดวงดี, ศรีสุขวัน, วันทนา, มาตเกตุ, และ นฤวรรณ, นิไชยโยค. ศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถในการปฏิบัติตนของมารดาหลังคลอด. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2563; 3(2): 37-43.

สุรีย์รัตน์ แก้วชัง (2565). ผลของการพัฒนาแนวทางการดูแลมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก. วารสาร โรงพยาบาลนครพนม 2565; 9(2):1-16.

เพียงเพ็ญ, รักจริง, วาสนา, รอดรัตน์, วรรณา, เอ้งฉ้วน, และ บุบผา, รักษานาม (2562) ประสิทธิผลของ Social Care Network Model ต่อการดูแลตนเองและบุตรของมารดาหลังคลอด. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 2(3):69-79.

ฐิติพร, เรือนกุล, ปิยะนุช, ชูโต, และ พรรณพิไล, ศรีอาภรณ์ ผลของโปรแกรมการสอนก่อนจำหน่ายต่อความพร้อมในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในผู้เป็นมารดาครั้งแรก. วารสารการพยาบาล2562; 20(1):40-51.

จุฑารัตน์, แซ่ล้อ และ มาลี, แซ่อุน . ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้ในมารดาครรภ์แรกที่คลอดบุตรโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องต่อความพร้อมก่อนการจำหน่ายหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี: รายงานวิจัย;2563

ศุภิสรา วรโคตร. การดูแลต่อเนื่องสำหรับมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดโดยทีมสหสาขาวิชาชีพและ เครือข่ายสุขภาพอำเภอเต่างอย จังหลัดสกลนคร.วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2558; 2(1): 61-6

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29