ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • รัชนี วุฒา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระกลางทุ่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธาตุพนม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนมและอาศัยอยู่ในตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 198 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ ฟิชเชอร์ เอกแซค และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
     ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 52.02 ความสัมพันธ์หระว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานพบว่า ระดับการศึกษาและระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานพบว่า การรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร; บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด. 2566.

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน [อินเตอร์เน็ต]. 2565a [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed 7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการป่วยตายด้วยโรคเบาหวาน [อินเตอร์เน็ต]. 2565b [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=589248f2516fbb85d4a4a5605c3ca1c4

กระทรวงสาธารณสุข. (2565c). ร้อยละของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวานปีงบประมาณ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565c [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงจากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2022&source=pformated/format1.php&id=b06544333648315e83c83445a62dd94e

กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปีงบประมาณ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565d [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2022&source=pformated/format1.php&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac 3

Becker, M.H. The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monographs 1974; 2: 324-508.

สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย. ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู 2562; 5(1): 55-68.

วาสนา ศรีหามาตร์ สุพัตรา บัวที และสุรชาติ สิทธิปกรณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2558; 21(2): 27-40.

กรรณิการ์ เงินดี สมคิด จูหว้า อนุกูล มะโนทน ทวีวรรณ ศรีสุขคำ และเทียนทอง ต๊ะแก้ว. ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา 2564; 44(2): 171-186.

นรเศรษฐ์ พูนสุวรรณ์ สุมัทนา กลางคาร และโกเมนทร์ ทิวทอง. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและการจัดการพฤติกรรมสุขภาพของตนเองต่อความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2558; 18(2): 70-78.

ดวงเดือน หันทยุง วรพล แวงนอก และวรากร เกรียงไกรศักดา. ผลของการใช้โปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเมืองไผ่. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559; 11(1): 36-51.

พุทธรักษ์ ดีสิน และศุภศิลป์ ดีรักษา. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อนในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 โรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(3): 36-41.

ละเอียด ศิลาน้อย. การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 2560; 12(2): 50-61.

Likert, R. A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology 1932;140: 1-55.

Best, J.W. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice- Hall Inc. 1981.

อัศนี ศศิภัทรพงศ์. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกหมอครอบครัวชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2565; 9(1): 1-16.

กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์ นิตยา เจริญยุทธ ติมา โกศัลวิตร และนฤมล บุญญนิวารวัฒน์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบังอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2562; 8(2): 32-42.

อ้อมใจ แต้เจริญวริยะกุล และกิตติยา ศิลาวงศ์ สุวรรณกูฎ. (2559). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2559; 9(2): 331-338.

เพรียวพันธุ์ อุสาย นิรมล เมืองโสม และประยูร โกวิทย์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(3): 11-20.

พิลารัฐ ภูระธีรารัชต์ และอภิญญา วงศ์พิริยโยธา. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่รับบริการคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศีรษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2562; 34(2): 257-272.

ชัญญานุช ไพรวงษ์ วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์ และภูนรินทร์ สีกุด. การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา 2559; 11(1): 107-116.

ประนอม กาญจนวณิชย์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2564; 36(2): 20-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29