การพัฒนารูปแบบบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลนาด้วง

ผู้แต่ง

  • สัญญา สาวิสัย พยาบาลวิชาชีพหัวหน้าหอผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาด้วง จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลนาด้วง และการศึกษาผลการพัฒนารูปแบบบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคร่วม โรคความดันโลหิตสูง และ/หรือสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่อาศัยร่วมผู้สูงอายุบ้านเดียวกัน ตามข้อ(1) จำนวน 30 คน กลุ่มที่ 3 อสม. หมู่บ้านเดียวกัน ข้อ(1) จำนวน 30 คน ตามคุณสมบัติเกณฑ์คัดเข้างานวิจัยเครื่องมือวิจัย มี 2 ส่วนประกอบด้วยส่วนที่ 1 ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบประเมินความรู้ ในการดูแลโรคหลอดเลือดสมอง 3)แบบประเมินความพึงพอใจของ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอสม. ส่วนที่ 2 ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติบรรยาย ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนส่วน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน 31 สิงหาคม 2566–-31 มกราคม2567
     ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไป ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 63.33 (19 คน) และอายุระหว่าง 60 -69 ปี ร้อยละ 43.33 (13 คน) ส่วนระดับการศึกษา พบว่าจบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าประถมศึกษา ร้อยละ 90 (27 คน) การเข้าถึง ระบบ Fast tract ก่อนการพัฒนารูปแบบ 110 (นาที) หลังการพัฒนา 25 (นาที) หลังการพัฒนารูปแบบและกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบแตกต่างกัน ส่วนความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบคือค่าเฉลี่ยความรู้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.41

References

กรมควบคุมโรค. กองโรคไม่ติดต่อ. สำนักสื่อสารความเสี่ยง. รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองหรือวันอัมพาตโลก [อินเทอร์เน็ต]; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://goodhealth.moph.go.th/?url=pr/detail/all/02/180623/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. คลังข้อมูลจังหวัดเลย. Health Data Center เลย. กลุ่มรายงานมาตรฐาน.ข้อมูล Service plan สาขาโรคหัวใจและหลอดเลือด.เลย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2565

โรงพยาบาลนาด้วง. ฝ่ายการพยาบาล. งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน. สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลนาด้วงปี2565. เลย: โรงพยาบาล; 2565

บดีภัทร วรฐิติอนันต์.ระบบช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลนครปฐม :ความท้าทายก้าวสู่แนวปฏิบัติที่ดีเลิศในประเทศไทย. ว.ประสาทแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566]; 35: 17-29. เข้าถึงได้จาก:http://neurothai.org/images/journal/2019/vol35_no2/1729Original.pdf

เกษณี คำจันทร์.การวิเคราะห์สถานการณ์การส่งเสริมการรับรู้สัญญาณเตือนภัยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

Creswell, J. W.& Clark, V. L. P. Designing and conducting mixed methods research. (2nd ed.): SAGE publishing; 2011

Guba, EG., Lincoln, YS. Fourth Generation Evaluation. London: Sage Publications; 1982.

กชพรรณ ศรีท้วม,นิภาวรรณ เนินเพิ่มพิสุทธิ.รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก.[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566];17: 5-18.เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-haijo.org/index.php/dpcphs/article/view/193792

สงบ บุญทองโท, นิสากร วิบูลชัย, องุ่น บุตรบ้านเขว. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลวาปีปทุมและเครือข่ายบริการ. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม 2566]; 14:100-13. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci- thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/199355

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29