การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เฟื่องฝน เบ้าจรรยา โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง

บทคัดย่อ

     กรณีศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้องกรณีศึกษา  2 ราย โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย นำมาปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
     ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย มาด้วยอาการปวดท้อง  น้ำยาล้างไตขุ่น ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ผู้ป่วยรายที่ 1 มีการแพร่กระจายเชื้อในช่องท้องอย่างรวดเร็ว มีไข้ หลังได้ยาปฏิชีวนะอาการไม่ดีขึ้น ได้เอาสายล้างไตออก และเปลี่ยนการรักษาเป็นฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมชั่วคราว ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ไม่มีไข้ ได้รับการทบทวนและส่งเสริมการดูแลตนเอง จนผู้ป่วยอาการดีขึ้นสามารถล้างไตต่อที่บ้านได้ ในการพยาบาลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อและความยุ่งยากของการพยาบาลที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความล่าช้าของการเข้าถึงบริการเมื่อเกิดอาการ การวินิจฉัยรักษาและความสามารถในการปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้องของผู้ป่วย

References

ชวนชม พืชพันธ์์ไพศาล. การจัดการตนเองเพื่อป้องกันการติิดเชื้อเยื่อบุช่องท้องในระยะเวลาอย่างน้อย18 เดือนของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่อง. วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า. 2561;29(1):17-28.

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์. แนวปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้อง Infection- related peritonitis.กรุงเทพฯ. ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด; 2556. 113-79.

ธวัช เตียวิไล, รสสุคนธ์ ตันติวิชิตเวช. อุบัติการณ์และ ปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะติิดเชื้อเยื่่อบุุช่่องท้้องครั้งแรกของผู้ป่วยล้้างไตทางช่องท้องอย่่างต่่อเนื่อง โรงพยาบาลโพธาราม. วารสารแพทย์์ เขต 4-5 2563;39:51-64.

นาตยา รัตนอัมภา. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง. การพยาบาลอายุรศาสตร์เล่ม โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เอ็นพีเพลส; 2561: 127-1483.

ปกรณ์์ ตุงคะเสรีรักษ์์. การติดเชื้อของการล้างไตในช่อง ท้องของโรงพยาบาลสุรินทร์์.ศรีีนคริินทร์์เวชสาร. 2559; 31(4):60-7.

วาสนา สวนพุฒ. ปัจจัยทที่มีผลต่อการติดเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(2):286-9.

ศิริลักษณ์์ ถุงทอง. การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่่ 2 ที่่ไม่่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;18(ฉบัับพิิเศษ):17-24.

อรรถพร พัชรสุวกุล. การติดเชื้อที่เยื่อบุผนังช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี.วารสารแพทย์เขต 4-5 2557;33(1):9-14

Nipun Shrestha, Sanju Gautam, Shiva Raj Mishra, Salim S. Virani, Raja Ram Dhungana; Bunden of chronic kidney disease in the general population and high-risk groups in South Asia: A Sytematic review and meta-anlysis available from PLOS ONE https://doi.org/10.1371/journal.pone.0258494 October 14,2021

WHO GBD 2019 Diseases and injuries Collaborators; Global burden of 369 diseases and injuries in 204 countries and territories, 1990-2019: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29