ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วีระพงษ์ ศรีประทาย นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ; สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลดีของการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลดีของการบริโภคอาหาร กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 302 คน โดยเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
     ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.5 มีอายุเฉลี่ย 45.39 ปี ส่วนใหญ่อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 34.1 รายได้ต่อเดือน น้อยกว่า 3,000 บาท ร้อยละ 55.3 โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,423.84 บาท ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 44.4 รองลงมาคือระดับประถมศึกษา ร้อยละ 40.1 ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกาย 23.0-24.9 (เริ่มอ้วน) ร้อยละ 45.0 ส่วนใหญ่มีระดับความดันโลหิต คือ ความดันโลหิตค่อนข้างไปทางสูง (SBP 120-129 และ DBP < 80) ร้อยละ 33.8 มีระดับการรับรู้ความสามารถแห่งตนด้านการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.0 ระดับความคาดหวังในผลดีของการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.2 และระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับพฤติกรรมพอใช้ ร้อยละ 67.5 ตามลำดับ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยด้านความคาดหวังในผลดีของการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในเชิงบวกระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < .05, r=.557) และระดับดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทาง DASH ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < .05)

References

National Institutes of Health National Heart, Lung, and Blood Institute. (2006). Lowering Your Blood Pressure With DASH. U.S. DEPARTMENT OF HEALTH AND HUMAN SERVICES 2006; 60(4082): 1-56.

Petrella, Robert J. Lifestyle Approaches to Prevention and Treatment of High Blood Pressure. GERIATRICS & AGING 2003; 6(2): 21-26.

วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย: นโยบายสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2556.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2564.

Bloom, Benjamin S.J. (ed). Taxonomy of Education Objective, Hand Book 1. Cognitive Domain. New York: David Mckay. 1975.

จินดา, ม่วงแก่น. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรู้ เจตคติ และทักษะการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

พิชามญช์, ภู่เจริญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

Jan Warren-Findlow, Rachel B. Seymour & Larissa R. Brunner Huber. The Association Between Self-Efficacy and Hypertension Self-Care Activities Among African American Adults. J Community Health 2011; 37(1): 15–24.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2564. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ; 2564.

Daniel, W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9th ed.). New York: John Wiley & Sons. 2010.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. การจัดสถานะทางสุขภาพ: การสร้างมาตราส่วนประมาณค่าแบบสอบถาม. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์. 2537.

กนกวรรณ อุดมพิทยารัชต์. โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 2561; 7(1): 62-72.

รัชนินทร สาธุเสน. ประสิทธิผลของเครือข่ายทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมเข้ารับการตรวจกัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

เสาวลักษณ์ มูลสาร, เกษร สำเภาทอง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามแนวทางของ DASH ร่วมด้วยทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 11(1): 87-98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29