ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เลิศวิทย์ เหลือผล โรงพยาบาลอาจสามารถ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ผู้ป่วยเบาหวาน, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

     การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 2) พฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 3) ความสัมพันธ์หระว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน  และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจสามารถและอาศัยอยู่ในตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 173 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละขั้นตอน
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.46 มีอายุอยู่ในช่วง 61-70 ปี ร้อยละ 57.80 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 67.63  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 63.00 มีรายได้อยู่ในช่วง 0-5000 บาทร้อยละ 55.50 ระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 11 ปีขึ้นไป ร้อยละ 36.42 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84.97 กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน การรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบา หวาน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และภาพรวมทั้งหมดมีการรับรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 99.42 87.85 97.11 72.25 และ 98.84 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.46 ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับกับพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และการรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ตามลำดับ โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนไดร้อยละ 34.60 (R2=.346) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: หจก.อรุณการพิมพ์. (2557).

กระทรวงสาธารณสุข. (2565a). อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565a [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd

กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวาน ปีงบประมาณ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565b [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2022&source=pformated/format1.php&id=b06544333648315e83c83445a62dd94e

กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปีงบประมาณ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565c [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงจากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2022&source=pformated/format1.php&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3.

นาตยา พีระวรรณกุล. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2565; 3(3): 38-55.

ศิริรัตน์ ศิริจันทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มาใช้บริการโรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2564; 6(2): 1-13.

ลออศรี จารุวัฒน์. พฤติกรรมการดูแลตนเองและการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารควบคุมโรค 2552; 35(4): 225-234.

วีระศักดิ์ ดำรงพงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2565; 16(2): 51-63.

ชัยวัฒน์ ดาราสิชฌน์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาบาลน้ำยืน อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(3): 17-22.

วิลาวัณย์ ถิรภัทรพงศ์ และกุลภา ศรีสวัสดิ์. การศึกษาระบาดวิทยาและค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ถูกตัดเท้าหรือขาเนื่องจากเบาหวาน ณ โรงพยาบาลศิริราช. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2551; 18(2): 65-69.

ชัชรินทร์ กูเมาะ และรุ่งนภา จันทรา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก จังหวัดปัตตานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558; 2(2): 85-99.

รื่นจิต เพชรชิต. พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการ สาธารณสุขภาคใต้ 2558; 2(2): 15-28.

นิตยา พันธุเวทย์, เมตตา คำพิบูลย์ และนุชรี อาบสุวรรณ. ประเด็นรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2553 (ปีงบประมาณ 2554). กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข.วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2556; 16(2): 9-18.

Bloom, B.S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York : McGraw-Hill; 1971.

Likert, R. A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology 1932;140: 1-55.

Best, J.W. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice- Hall Inc. 1981.

ลักษณา เปลี่ยนวงศ์. การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565; 5(1): 17-32.

จุฑามณี สมาน ชนัญญา จิระพรกุล ตันติกร ชนะภู และเนาวรัตน์ มณีนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในญาติสายตรง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร วิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2565; 15(4): 79-89.

จิรภัค สุวรรณเจริญ ช่อเอื้อง อุทิตะสาร อนุรักษ์ เร่งรัด วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิลและจิตรา ดุษฎีเมธา. การศึกษาพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบลหนองแวง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4(2): 139-148.

สุพรรษา สุวรรณสิรินนท์ และรัฐพล ไกรกลาง. การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2566; 9(3): 135-146.

สุจิตรา บุญประสิทธิ์ สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ และชมนาด สุ่มเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2559; 32(1): 44-56.

มัตนา ภูมิโคกรักษ์ ขวัญชนก สุวรรณ และพรทิพย์ แก้วชิณ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพรั้งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2566; 6(1): 121-133.

เดือนเพ็ญ เพ็ญรัตน์ วัฒนา รัตนพรหม และประพรศรี นรินทร์รักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลอ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2556; 7(4): 821-833.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29