ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่คลินิกเบาหวานในชุมชน ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ชัญญาภัค กฤตประวีร์ โรงพยาบาลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, สร้างเสริมพฤติกรรม, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Study) แบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง(The One-Group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คลินิกเบาหวานในชุมชน ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และแบบวัดความพึงพอใจ ก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติ โดยใช้สถิติ paired sample t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
     ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง จำนวน 6 ด้าน ดังนี้ 1) อาหาร 2) ออกกำลังกาย 3) อารมณ์ ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมภายหลังการทดลองสูงกว่าหลังทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 4) สูบบุหรี่ 5) สุราหรือแอลกอฮอล์ และ 6) ระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสามารถลดความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ การดื่มสุราและแอลกอฮอล์ และระดับน้ำตาลในเลือด มีค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กรมควบคุมโรค กระทรงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนถึงความเสี่ยงโรคเบาหวานและหากตรวจพบก่อนจะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. จังหวัดนนทบุรี; 2566.

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. เอกสารสรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2566.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือการดำเนินงานสุขศึกษาตำบลจัดการคุณภาพชีวิตและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บจก.สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2565.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2562.

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. เอกสารสรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2566.

ปัณฑิตา สิงห์สังเวียนม, วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์, และยุวยงค์ จันทรวิจิตร. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายและอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 2562;13(3): 50-64.

วัชราพร เนตรคํายวง. ผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข. 2566;3(2): 79-82.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, จินตนา ทองเพชร, จุไรรัตน์ ดวงจันทร์ และนงณภัทร รุ่งเนย. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมกับความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2566;32(2), 78-83 เข้าถึงได้จาก:https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/13627/11096

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2560;36(1). 2-12.

สุนันทา ภักดีอำนาจ เชาวกิจ ศรีเมืองวงศ์ และสุรีรัตน์ ณ วิเชียร. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมือง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 2566;6(2). 53-66

เกสราวรรณ ประดับพจน์ และศิริลักษณ์ แก่นอินทร์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564;8(5):148-161.

นงลักษณ์ ตุ่นแก้ว, พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน และศรินญาภรณ์ จันทร์ดีแก้วสกุล. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.1ย. และการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาใน เลือดของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2561;24(2), 83-96.

ปรางค์ บัวทองคำวิเศษ, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว และสุทธีพร มูลศาสตร์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;9(1). 105-116.

Rusdiana, Savira, M., & Amielia, R. The Effect of Diabetes Self-Management Education on Hba1c Level and Fasting Blood Sugar in Type 2 Diabetes Mellitus Patients in Primary Health Care in Binjai City of North Sumatera, Indonesia. Open Access Maced J Med Sci. 2018;6(4), 715-718.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29