ประสิทธิผลของการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรารัตน์ จันทร์คุ้ม ส.ม.(สาขาสุขภาพชุมชน)
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
  • นฤมล สินสุพรรณ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi experimental research) เป็นการศึกษากลุ่มเดียวโดยวัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลและพัฒนาความรู้ความสามารถ ของพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลบ้านไผ่ จำนวณ 38 คนในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบฟอร์มเก็บข้อมูลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้สถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
     ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดแก่พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลบ้านไผ่ gif.latex?\bar{X}= 4.41 (S.D. = 0.002) หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดแก่พยาบาลวิชาชีพ ของโรงพยาบาลบ้านไผ่ gif.latex?\bar{X}= 4.98 (S.D. = 0.134) คะแนนความรู้ภายหลังได้รับการอบรมทันทีสูงกว่าก่อนได้รับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( P-value = 0.04)

References

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.(2561).บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ:บทบาท หน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลของโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป และกลุ่มงานการพยาบาลของโรงพยาบาลชุมชน. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สื่อตะวัน.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานทางสถิติ อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด(อินเตอร์เน็ต). สืบค้นจากเว็ปไซต์:https://hdcservice.moph.g0.th/h dc/reports/

เกตุกาล ทิพย์ทิมพ์วงศ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น.

คมกฤช สุทธิฉันท์, มยุรี พิทักษ์ศิลป์, สมจิต พฤกษะริตานนท์ และวัลลภ ใจดี. (2561). ผลลัพธ์ของการใช้เกณฑ์การประเมินอวัยวะล้มเหลวเนื่องจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเร็วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของจังหวัดฉะเชิงเทรา.บูรพาเวชสาร

จริยา พันธ์วิทยากูลและจิราพร มณีพราย. (2561). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตวารสารกองการพยาบาล.

จุฬาลักษณ์ นุพอ, กาจบัณฑิต สุรสิทธิ์, วรัตฒ์สุดา สุนทรทัย. (2563). การประเมิน NEWS (Nakornpink early warning scores) ณ ห้องฉุกเฉินเพื่อทำนายอัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ.วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์.

ดนัย อังควัฒนวิทย์. (2559). ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. นิตสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

พร ศรีทันดร. (2565). ผลการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมงของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้ในกระแสเลือดชนิดรุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

พัชรีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี และสุพัตรา กมลรัตน์. (2561). การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ

เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์,กรองกาญจน์ สังกาศ,ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา,ยงค์รงค์ รุ่งเรือง.(2554). ผลของกิจกรรมการพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ6ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการSepsis.วารสารพยาบาลศาสตร์.

ภาพิมล โกมล,รัชนี นามจันทรา,วาริน บินโฮเซ็น. (2560). คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาสยามบรมราชกุมารี.

มาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ. (2566). การติดเชื้อในกระแสเลือด(อินเตอร์เน็ต) สืบค้นจากเว็ปไซต์ : https://.medparkhospital.com/content/septicemia

เวชสถิติโรงพยาบาลบ้านไผ่. (2565). รายงานผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจำแนกตามการจำหน่ายรายเดือน.งานเวชระเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านไผ่.

สมพร รอดจินดา,สมใจ พุทธาพิทักษ์ และวิมลทิพย์ พวงเข้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤต. (2558). การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock (ฉบับบร่าง)แนวทางเวชปฏิบัติ.กรุงเทพฯ : สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย.

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. (2561). การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 10.

อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์.

Anne Drewry, Nicholas M. Mohr., (2022). Society of Critical care Medicine and Kluwer Health., Volume 50

Burdette, S., D. (2012) Systemic inflammatory response syndrome. Retrieved 7. September, 2017, from.

Michael D. Howell, Andrew M. Davis, (2017). Management of Sepsis and Septic shock, JAMA Clinic Guideline Synopsis. Februry 28

Paterson, R.L., Webster, N.R., (2000). Sepsis and the systemic inflammatory response syndrome, Journal of the Royal college of surgeone of Edinburgh,45(3),178-182

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29