ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในจังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ความรอบรู้, ฝุ่น PM2.5บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน2.5 ไมครอน(PM2.5) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความรอบรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในจังหวัดนครพนมดยใช้ประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health Literacy–EHL) ของ Sorensen. K. และคณะ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครพนม จำนวน 374 คน สุ่มโดยวิธีหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาความตรงตามเนื้อหาและหาความเชื่อมั่นด้วยวิธีครอนบาคได้เท่ากับ .985 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคล์สแควร์
ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง วิเคราะห์รายด้านพบความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการตัดสินใจเพื่อป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับสูง รองลงมาเป็น ด้านการตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม และด้านการเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบปัจจัยเพศมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการตัดสินใจเพื่อป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 อายุมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการตัดสินใจเพื่อป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 และความรอบรู้โดยภาพรวม ส่วนระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการตรวจสอบข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมและความรอบรู้โดยภาพรวม
References
กรีนพีซ (ประเทศไทย). (2566). มาตรฐานการวัดคุณภาพอากาศที่แตกต่าง.สืบค้น 26 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/cleanair/air-standard/.
กรมควบคุมมลพิษ (2565). สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทย 2564. ค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2565, จาก chrome-extension:// efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/11/pcdnew-2022-11-01_07-34-54_842781.pdf
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2563). การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:มปท.
อุรบล โชติพงษ์. (2019). ฝุ่นPM 2.5 ใประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อม. 22(4), 51-55. สืบค้นจาก https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/53
มัตติกา ยงอยู่.(2564). ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในเขนสุขภาพที่ 5.วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 44(2) เมษายน-มิถุนายน: 83-96.
สุภางค์พิมพ์ รัตตสัมพันธ์, นิธินันท์ ศิรบารมีสิทธิ์ และ ชนินทร รัตตสัมพันธ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลปทุมธานี.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 42 (3) กันยายน- ธันวาคม : 53-62.
นภัทร พงษ์เทิดศักดิ์, พัชรา ก้อยชุสกุลและพิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์. (2558). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองในภาวะหมอกควันของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลจันว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 8(17) พฤษภาคม- สิงหาคม: 140-147.
ศิริพร จริยาจิรวัฒนา , ภัทรพร บุตรดีและพรวิมล นภาศัย. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของประชาชนไทยในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 45(2) เมษายน-มิถุนายน: 25-38.
สุภาพร มงคลหมู่. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดัน โลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.