การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก จังหวัดสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2566

ผู้แต่ง

  • ชัยณรงค์ สุขขำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การประเมิน, ระบบเฝ้าระวัง , โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก ของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ขั้นตอนการรายงานโรค คุณลักษณะเชิงปริมาณ และคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ซึ่งเลือกโรงพยาบาล 4 แห่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง การประเมินคุณลักษณะเชิงปริมาณ จะใช้ข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยตามรหัส ICD-10 ที่กำหนด จำนวน 377 ราย เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง. 506) ส่วนการประเมินคุณลักษณะเชิงคุณภาพ จะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังโรค จำนวน 32 คน
     ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ปฏิบัติงานทุกแผนกของโรงพยาบาล เมื่อพบว่าแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยเป็นโรคหรือสงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก พยาบาลประจำแผนกจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมโรคทราบ ทางช่องทางต่างๆ ทันที และในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่งานระบาดวิทยาจะตรวจสอบ รวบรวมรายชื่อ และสอบสวนโรคเฉพาะราย รายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) คุณลักษณะเชิงปริมาณ มีความครบถ้วนหรือความไว ร้อยละ 53.33 ซึ่งอยู่ในระดับพอใช้ ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 100 ซึ่งอยู่ในระดับดี ทุกตัวแปรมีความถูกต้อง ร้อยละ 100 เป็นตัวแทนของสถานการณ์จริงได้ และมีการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ภายใน 24 ชั่วโมง ทันตามเวลาที่กำหนด ร้อยละ 100 และ (3) คุณลักษณะเชิงคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ด้วยเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย ตระหนักในความสำคัญ และการยอมรับในความน่าเชื่อถือของข้อมูล เนื่องด้วยมีการตรวจสอบความถูกต้อง จากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการสอบสวนและควบคุมโรคได้ ระบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ไม่ซับซ้อน มีความยืดหยุ่นค่อนข้างมาก สามารถรายงานผ่านช่องทางที่หลากหลายตามบริบทของพื้นที่ และประยุกต์ใช้ร่วมกับการเฝ้าระวังโรคติดต่อโรคอื่นๆ ได้

References

World Health Organization. Public health surveillance. boob, http://www.who.int/topics/public_health_surveillance/en/

วรางคณา จันทรสุข. (2561). การประเมินระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์กรมควบคุมโรคปี พ.ศ. 2561. นนทบุรี.

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. (2551). แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข(พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี.

Centers for Disease Control and Prevention. Guidelines for Evaluating Surveillance Systems, https://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/00001769.htm

ทัศนีย์กร ภูษา. (2564). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. เผยแพร่ผลงานวิจัย. โรงพยาบาลชุมแพ, https://cphos.go.th/new-cphos/announce_details.php?anncode=VkZod1NtVlJQVDA9&status=active

กองกฎหมาย. (2563). พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ.2558 พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี

ประดิษฐ์ นิรัติศัย. (2560). การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง. วารสารสาธารณสุขภาคเหนือ,; 4(2) : 30-39.

บุญรัก ธํารงลักษณ์กุล และกรรณิการ์ พินิจ. (2558). การประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยากลุ่มโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลศูนย์ระยอง ปี พ.ศ. 2558. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48 : 31 – 39. 2560.

เกษรินทร์ ชาวเกวียน และคณะ. (2560). การศึกษาการพัฒนาระบบเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา: ตำบลศีรษะทอง จังหวัดนครปฐม. รายงานสืบเนื่องประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29