ผลของรูปแบบการประยุกต์เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ภรณ์ทิพย์ ปานเชียงวงษ์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรกร วิชัยโย อาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธีรนาถ สุวรรณเรือง อาจารย์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การป้องกันโรคไข้เลือดออก, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเปรียบเทียบการรับรู้ ความตระหนักรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกหว่างก่อนและหลังการดำเนินกระบวนการการประยุกต์เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีกลุ่มทดลองจำนวน 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบใช้สถิติ paired sample t – test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
     ผลการวิจัย พบว่า ด้านการรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกหลังทดลอง มีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.=0.16) และก่อนทดลอง มีค่าเฉลี่ย 3.47 (S.D.=0.27) ซึ่งค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน โดยหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value<0.001, 95%CI=0.71-0.86), ด้านความตระหนักรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก หลังทดลองมีค่าเฉลี่ย 4.25 (S.D.=0.19) และก่อนทดลอง มีค่าเฉลี่ย 3.58 (S.D.=0.33) ซึ่งค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน โดยหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value<0.001, 95%CI=0.57-0.77), และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกหลังทดลองมีค่าเฉลี่ย 3.31 (S.D.=0.16) และก่อนทดลอง มีค่าเฉลี่ย 2.66 (S.D.=0.67) ซึ่งค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน โดยหลังทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value<0.001, 95%CI=0.48-0.82) และหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีความเข้าใจต่อกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.79 คะแนน (S.D.=0.131)

References

World Health Organization. Dengue and dengue hemorrhagic fever. [online] 2023 [cited 2023 Sep 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2566. กระทรวงสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 22 ‎กรกฎาคม ‎2566]; เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1398220230310075357.pdf

ระบบงานภายใน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. สำนักงานสาธารณสุขนครพนม [อินเตอร์เน็ต].2565 [สืบค้น 1 มีนาคม 2565] เข้าถึงจาก: https://npm.hdc.moph.go.th/ hdc/main/index.php

โรงพยาบาลนาแก. สรุปรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกปี 2566. นครพนม:งานควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลนาแก; 2566.

สำเนียง วงศ์วาน. การมีส่วนของประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ; 2549.

ประภาศิ ศรีคง. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนและการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระหว่างตำบลที่มีอุบัติการณ์ของโรคต่ำและสูง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2557.

ชนิศา เสนคราม และรชานนท์ ง่วนใจรัก.การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและตัวแบบบุคคลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลทุ่งกระตาดพัฒนา อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการ สคร.9 ปี 2562, 25(1); 27-36.

อเนก นนทะมาตย์. การเสริมสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของผู้นำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าไฮงาม จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2565, 8(3);1031- 1037 สืบค้นจาก https://he03.tci thaijo.org/index.php/ech/article/view/1990

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29